อบรม

ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์

คำกล่าวแสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ผมเริ่มต้นชีวิตวิชาการแบบเข้มข้น (ภายหลังจากเรียนจบ Ph.D. จากอเมริกา) กลับมาทำงานวิชาการ ณ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2542 ในช่วงเริ่มต้นชีวิตวิชาการภายในรั้ว มศว ยุคอดีต ผมไม่เคยลืมเลย…ผมได้รับโอกาสเชิญชวนจาก ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ ให้มาเป็นวิทยากรบรรยายสถิติขั้นสูง เช่น ANCOVA, MANCOVA ให้แก่ผู้สนใจเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้ร่วมทีมอาจารย์สอนวิชาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแก่นิสิต ป.โท และ ป.เอก ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ (ประสบการณ์ดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เขียนหนังสือวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเวลาต่อมา) อีกทั้งร่วมกันสอนวิจัยและสถิติขั้นสูงให้แก่นิสิต ป.เอก สาขาบริหารการศึกษา และสาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรทางด้านวิธีวิทยาการวิจัยร่วมกันในหลายเวทีมากๆ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ ดร.ดุษฎี ท่านขึ้นมาเป็นผู้บริหารของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สมัยแรก ผมได้รับโอกาสจากท่านให้เข้าทำวิจัยประเมินผลโครงการในพระราชดำริฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา) ณ โรงเรียน ตชด.บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง

By |2024-06-13T07:31:42+07:00June 13th, 2024|News, พฤติกรรมศาสตร์|0 Comments

อบรมระยะสั้น เปิดรับสมัครแล้ว

กิจกรรมอบรมระยะสั้นด้านวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา เป็นกิจกรรมที่สมาคมพฤติกรรมศาสตร์จัดขึ้นเพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมหรือบุคคลที่สนใจทั่วไป รวม 13 รายวิชา ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ในรูปแบบออนไลน์ ตอบคำถามที่ว่า “แล้วผู้ที่เข้าร่วมแล้วจะได้ประโยชน์อะไร?” (วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ของสมาคม) 1) เพิ่มความรู้และทักษะ: ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เฉพาะทางและเรียนรู้เทคนิคการวิจัยที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะในการทำวิจัยของผู้เข้าร่วมการอบรมได้ 2) การปรับปรุงคุณภาพวิจัย: ด้วยความรู้และทักษะที่ได้รับ ผู้วิจัยสามารถปรับปรุงคุณภาพของงานวิจัยของตนได้ ทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและมีคุณค่ามากขึ้น 3) เครือข่ายวิชาการ: กิจกรรมนี้เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในสาขาวิชา ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 4) การพัฒนาทักษะการสอน: สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์หรือผู้สอน การอบรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความเข้าใจล่าสุดในสาขาวิชา 5) การสร้างแรงบันดาลใจ: การได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอาจเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นหรือพัฒนาโปรเจกต์วิจัยใหม่ๆ ของตนเองหรือขององค์กร 6) การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ: อบรมเหล่านี้มีการกล่าวถึงการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการวิจัย ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถปรับตัวและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมระยะสั้นเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างพื้นฐานทางวิชาการในวงกว้าง และสนับสนุนการพัฒนาและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ดีขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม/สมัคร คลิกได้ที่ >> ดาวน์โหลดหนังสือเชิญ >> ขอเชิญเข้าร่วมอบรม (ภายนอก) 2566

Go to Top