พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง

พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เข้าใจกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนักการเมือง เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า “นักการเมืองที่ดี (มีจริยธรรม) นั้น ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองมาอย่างไร”

พฤติกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิดทางศาสนา ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการศึกษาด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ จนทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ลุ่มลึก อธิบายได้อย่างละเอียดว่ากรณีศึกษา (นักการเมือง) ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองจากตัวกลาง (agent) สำคัญ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน สถาบันศาสนา อาชีพก่อนเข้าทำงานการเมือง พรรคการเมือง/กลุ่มการเมืองที่สังกัด มาอย่างไร จนเกิดผลลัพธ์ คือ การมีจริยธรรมในการทำงานการเมือง

ภายหลังจากจบการศึกษา ได้ทำงานวิจัยอีกหลายเรื่องทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนจากสถาบันฯ มาใช้โดยตรง ทั้งการออกแบบการวิจัยที่มีความถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาการวิจัย และการสร้างเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ รวมถึงแนวทางการต่อยอดหรือการนำองค์ความประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

_______

ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว
วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) รุ่น 4
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว