สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ : ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีความลึกซึ้งและซับซ้อนจึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายมาประกอบกันเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น หากเปรียบการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์เป็นทรงกลมจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งเชิงลึกดิ่งลงสู่จุดศูนย์กลางของทรงกลม คือ มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงลงไปในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์และเชิงกว้างกระจายและครอบคลุมไปตามพื้นผิวทรงกลม คือ ศึกษาพฤติกรรมอย่างหลากหลาย เหมือนและแตกต่าง ยั่งยืนและผันแปร คงที่และเปลี่ยนแปลงตามแต่บริบท พื้นที่และช่วงเวลาทำให้การศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มีความน่าสนใจและยังคงมีเรื่องให้ต้องศึกษาอยู่เสมออย่างไม่สิ้นสุด พฤติกรรมศาสตร์เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เพราะการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะนำทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียวมาอธิบายได้อย่างถ้วนทั่วทั้งหมดเนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์อาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกของมนุษย์แต่ละคนที่แตกต่างกันซึ่งเปรียบดุจสีสันที่มีเฉดสีแตกต่างและหลากหลายออกไปตามแต่ละบุคคล ดังนั้นนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องเป็นผู้รอบรู้ด้านแนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลาย รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยซึ่งส่งผลต่อความแปรเปลี่ยนไม่คงที่หยุดนิ่งของมนุษย์เพื่อให้นักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์สามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีไปใช้ในการอธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย ควบคุมและปรับพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในแนวทางที่ดีและเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกต่อไป การศึกษาสมรรถนะเป็นหนึ่งในการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์โดยองค์ประกอบของสมรรถนะมนุษย์มักอุปมาเป็นรูปภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? : ผศ.ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? แม้จะมีคำอธิบายที่เป็นหลักแต่ดูเหมือนว่าคำตอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ หากจะทำความเข้าใจถึงการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรเข้าใจคือความหมาย “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งดูเหมือนการให้ความหมายของคำนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการกล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์คืออะไร จึงมีคำตอบที่หลากหลายไปตามบริบทของผู้ตอบ แม้เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนและมีประสบการณ์การทำวิจัยหรือการเป็นนักปฏิบัติด้านพฤติกรรมศาสตร์ก็สามารถให้ความหมายที่ต่างกันได้ การอธิบายพฤติกรรมศาสตร์ของแต่ละคนอาจอธิบายได้ไม่เหมือนกัน อยู่ที่องค์ประกอบหรือบริบทแวดล้อมที่ผู้อธิบายกำลังนึกถึง แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะของศิษย์เก่าและอาจารย์ประจำของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตอบคำถามของครูบาอาจารย์ หรือหากจะกล่าวกันจริง ๆ ก็นับตั้งแต่วันสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิตของสถาบันฯ กรรมการสอบสัมภาษณ์ท่านก็ถามเป็นคำถามแรกๆ ว่า ในมุมมองของหนูพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร ตอบมาเถอะตามความเข้าใจ ไม่มีมีผิดมีถูก ตอนนั้นก็สบายใจ เอาล่ะ
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : ผศ.ดร.ชวิตรา ตันติมาลา
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ รับรู้ สั่งสม บ่มเพาะให้ความหมาย และคุณค่าโดย “คนใน” ภายใต้เงื่อนไขของเวลา สถานที่ และบริบท อัตลักษณ์ของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ถูกประกอบสร้างจาก “คนใน” อาทิ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า บุคลากร และผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกคนต่างมีตัวตน ภูมิหลัง
พฤติกรรมศาสตร์กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C : ดร.ปิยวรรณ บุญเพ็ญ
พฤติกรรมศาสตร์ กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C พฤติกรรม คือ ส่วนประสมที่ลงตัวระหว่าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้กระทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ และสถานการณ์ที่บังคับ จูงใจ หรือกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ดังนั้น พฤติกรรมศาสตร์จึงไม่ใช่ศาสตร์ใดเพียงศาสตร์เดียว แต่เป็นส่วนผสมของทุกศาสตร์ที่สามารถทำให้เข้าใจและอธิบายสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเหล่านั้นของมนุษย์ได้ ดังสูตรคณิตศาสตร์ที่ว่า A ∩ B ∩ C
พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม : ดร.มติ ทาเจริญศักดิ์
พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม ผมจดจำได้เป็นอย่างดีว่าเข้ามาเรียนสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์เพราะอะไร หัวข้อที่อยู่ในหัวของผมในตอนนั้น ไม่ไกลไปกว่าเกมหมากกระดานที่ผมเล่นมาเนินนาน เกมหมากล้อม และคิดว่ามีหัวข้อแล้วจบไวแน่นอน แต่เมื่อเริ่มศึกษาเรื่องนี้ระหว่างศึกษาจึงเริ่มรู้สึกถึงกำแพงอันสูงลิบและทอดยาวออกไปโดยไม่มีจุดสิ้นสุดและถอนเรื่องนี้ออกจากการเป็นหัวข้อทำวิทยานิพนธ์จบ แต่แล้วเมื่อวันที่สอบวัดคุณสมบัติครั้งแรกเสร็จสิ้น แม้ผมจะไม่ผ่านแต่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสอบครั้งนี้ผ่านอาจารย์หลายท่าน กลับทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำจบอย่างเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรเป็นความเหน็ดเหนื่อยที่ทำแล้วคนอื่นยอมรับ ผมจึงกลับเอาหัวเรื่องเกี่ยวกับการเล่นหมากล้อมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อเริ่มต้นการเดินทางอันแสนยาวนานในการทำวิทยานิพนธ์ซะที และการนำมาเป็นหัวข้อก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เพราะมันคือฝันร้ายในการทำวิทยานิพนธ์อย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เหมือนจะมีมากมายแต่แท้จริงแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้นกลับมีเพียงหยิบมือเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ผ่านการเล่นหมากล้อม ถ้าเรียนสาขาอื่น ผมคงยอมแพ้และเปลี่ยนหัวเรื่องใหม่ไปแล้ว เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่อะไรดี
34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ
34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ในฐานะ ผู้สอน ผู้วิจัย และผู้บริหารหลักสูตร อยากให้ความเห็นในประเด็น ต่อไปนี้ ประเด็นแรก "การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ " เป็นศาสตร์ที่เน้นการวิจัย เป็นเครื่องมือในการตอบคำถาม 1) อะไรคือสาเหตุของพฤติกรรมของคน กลุ่มคน โดยในการอธิบายนั้นคำนึงถึง ลักษณะส่วนตัว และบริบทแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันไปพร้อมกันด้วย 2) เปลี่ยนพฤติกรรมของคนและกลุ่มคน
พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน : ดร.เธียรไชย ยักทะวงษ์
พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน “การทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่กดดันมั้ย? ทำงานเครียดหรือเปล่า? เคย Burn Out ถึงขั้นอยากลาออกบ้างมั้ย? คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ ในฐานะที่ทำงานด้านการพัฒนาคนในองค์กร มักจะชวนคิดชวนคุยให้ทั้งผู้ที่ตั้งคำถามรวมถึงพนักงานในองค์กรได้ “เข้าใจ ยอมรับ และปรับตัว” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาอยู่เสมอ “เข้าใจ” ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกองค์กรล้วนต้องการผลกำไร ดังนั้นไม่มีองค์กรใดที่ทำงานด้วยแล้ว ไม่กดดัน ไม่เครียด แต่เราต้องจัดการให้คนในองค์กรมีความเครียดในระดับที่เหมาะสม เพราะความเครียดเล็กน้อย คือ สิ่งที่ดี
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา : ภาสกร ยุรวรรณ
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา ถ้าเปรียบจักรวาลวิทยาศาสตร์เป็น ‘ใบชา’ หรือ ‘เปลือกตาของพระโพธิธรรม’ ที่ช่วยเบิกเนตรให้มองเห็น ให้ได้เข้าใจสิ่งใดๆ ที่เหนือกว่าอายตนะของเราแล้ว พฤติกรรมศาสตร์ก็คงไม่แคล้วเป็นรสชาติอันซับซ้อนลุ่มลึกแบบ ‘ชาผู่เอ๋อ’ ที่หมักบ่มมาเป็นระยะเวลานาน เปรียบเปรยขึ้นมาแบบนี้อาจดูพิลึกกึกกือ แต่หากพิจารณาโดยถือเหตุผลว่า ‘พฤติกรรมศาสตร์’ เป็นการหลอมรวมหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า ‘บูรณาการ’ มันคงไม่ต่างกันกับต้นชาโบราณที่ดูดซับแร่ธาตุมานานนับร้อยปี ก่อนนำไปหมักตามกรรมวิธีอย่างพิถีพิถัน ดังนี้แล้ว รสชาติที่ได้ย่อมลึกล้ำ ซับซ้อน พูดแบบนี้อาจดูเหมือน
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ : รศ.ดร.รังสรรค์ โฉมยา
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ... เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้มีโอกาสหยิบเอาหนังสือชื่อ “Future Human Behavior: Understanding What People Are Going To Do Next” โดย Thimon De Jong ผู้เชี่ยวชาญผู้โด่งดัง และถือเป็น Influences ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการอธิบายปรากฏการณ์ของพฤติกรรมนุษย์และวัฒนธรรมทางธุรกิจสมัยใหม่
ตัวแปรปรับ และ ตัวแปรแทรก
ตัวแปรปรับ (moderator variable) และ ตัวแปรแทรก (mediator variable) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง เรื่องที่คนมักสงสัย 1. คืออะไร ต่างกันอย่างไร ตัวแปรแทรก คือ ตัวแปรที่อยู่ระหว่างตัวแปร 2 ตัว เช่น บุคลิกภาพแบบแสดงตัว ส่งผลทางบวกต่อ ความผาสุกทางจิตใจ ผ่านตัวแปรแทรกคือ
RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย (คลิปการบรรยาย)
วิดีโอบันทึกการบรรยายออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM Meeting หัวข้อ: “RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย” ในโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านการทำปริญญานิพนธ์ ปีการศึกษา 2564 บรรยายโดย รศ.ดุษฎี อินทรประเสริฐ นายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ ให้กับนิสิตหลักสูตร วท.ม. และ ปร.ด. การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ปร.ด. จิตวิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว และสมาชิกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์
ร่างทรง ความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรม “ทางเดินคู่ขนานร่างกายและจิตใจ”
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.20 เสาร์ 30 กันยายน 2564 กับหัวข้อ ร่างทรง ความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรม "ทางเดินคู่ขนานร่างกายและจิตใจ” Speaker: 1. ศิววุฒ เสวตานนท์ (เยเมนส์) ร่วมเขียนบท/ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ "ร่างทรง" 2. ชนัญญ์ เมฆหมอก
การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.16 เสาร์ 25 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น” Speaker: 1. ดร.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง (อ.จันทร์เจ้า) ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. นางสาวนิศา ประกอบชัย (มิคกี้) นายกยุวสมาคมแห่งประเทศไทย-สมุทรปราการ ปี 2020 และ
การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.15 เสาร์ 18 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z” Speaker: 1.อ.ดร.นัชชิมา บาเกาะ (อ.มะฮฺ) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2.อ.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์ (อ.เปา) สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว 3.อ.ดร.สุทธิพงศ์
“BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.14 เสาร์ 11 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง Speaker: 1. อ.ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ (อ.ปิ๊ก) อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว 2. คุณพงศ์อมร สุขสมจิตร (พี่อ้าย) อดีตโปรดิวเซอร์รายการ Asia's
ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.13 เสาร์ 4 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย” เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แก่ 1. ท่านสุรจิตร ศรีบุญมา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีนบุรี 2.รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3.อาจารย์ธนวัฒ พิสิฐจินดา
Behavior Medicine ต้านโควิด
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.11 เสาร์ 14 สิงหาคม 2564 กับหัวข้อ “Behavior Medicine ต้านโควิด” เป็นการพูดคุยกับคุณหมอผู้เชียวชาญทั้ง 3 ท่านที่มีความถนัดในแต่ละด้านที่แตกต่างกันทั้งทางด้านจิต ด้านบริการสังคม ด้านสุขภาพกาย ซึ่งได้แก่ 1. ผศ.ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล (อ.หมอตี๋) 2. ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา (อ.บอล) 3.
Positive Psychology: จิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานในสภาวะวิกฤติ
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.10 เสาร์ 7 สิงหาคม 2564 กับหัวข้อ "Positive Psychology: จิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานในสภาวะวิกฤติ" เป็นการพูดคุยนำเสนอและส่งต่อแนวคิด ตลอดจนวิธีการการทำงานให้มีความสุขได้ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ ยอดผู้เข้าฟังกว่า 70 คน บรรยากาศการพูดคุยและเปลี่ยนกันนั้นเข้มข้น สนุกสนาน ได้สาระความรู้ เวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน ผ่านไปแบบที่ทุกคนเพลินจนลืมดูเวลา ขอบคุณ Speaker:
เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด
Research Talk: Ep.9 เสาร์ 31 กรกฎาคม 2564 "เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง - บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด" Speaker: 1. ดร.ณฐวัฒน์ (อ.โก้) 2. ผศ.ดร.นันท์ชัตสัณห์ (อ.กีต้าร์) 3. ดร.ฐิติกาญจน์ (อ.มิ๊ง) Moderator: ดร.ชวิตรา (อ.วิว)
ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน
Research Talk: Ep.8 เสาร์ 24 กรกฎาคม 2564 "ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน" ร่วมพูดคุยกับ 3 ผู้เกี่ยวข้องกับละครไทย บอกเล่าแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์เชื่อมโยงกับพฤติกรรมมนุษย์ Speaker: 1.ผู้เขียนบทละคร เบญจธารา โอฬารนิธิกุล (พี่โอ๋) 2.ผู้จัดละคร ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนสกุล
Lock Down ไม่ล็อกใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน
Research Talk: วันที่ 17 เดือน 7 EP 7 เวลา 7 PM กับประเด็นที่ศิษย์เก่าสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์นำมาพูดคุยกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่เป็นอย่างยิ่ง “Lock Down ไม่ล็อคใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน” Speaker: ดร. ลลิตา (พี่โรส) ดร. นภัสนันท์ (พี่ติ๊ก)
ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
Research Talk: EP.6 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 10 ก.ค. 64 "ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์" เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญ 3 คำที่คนทำงานวิจัยต้องเจออยู่เป็นประจำ มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ 4 Speaker 1.รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่) 2.ผศ.ดร.วรรณะ (อ.แม็ค) 3.อ.ดร.ชวิตรา
Ai กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์
Research Talk: EP.5 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 3 ก.ค. 64 กับหัวข้อที่ได้รับความสนใจในยุคที่ทุกอย่างเป็นระบบดิจิทัล “AI กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งในปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เราเรียกว่า Ai มีความก้าวหน้าถึงไหน งานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์จะได้ประโยชน์ หรือจะใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของ Ai ได้อย่างไร หรือ กำลังจะถูก Ai แทนที่ จากการร่วมวงพูดคุยหาคำตอบกันผ่านมุมมองของนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ความสำคัญของธีม (Theme) กับการจัดประชุมวิชาการ
คำว่า “ธีม” เป็นคำเล็ก ๆ แต่ดูแหมือนจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกกังวล เป็นภาระ เมื่อได้รับโจทย์ให้ไปคิดธีมการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อเตรียมแผนปฏิบัติงานของสมาคม ให้ก้าวเดินไปอย่างมีทิศทาง แม้ว่ากรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์สูง คิดเร็ว ตอบโจทย์ได้ทันที ในทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์ เชื่อว่าคนเรามีกระบวนการรู้คิดสองแบบคือ กระบวนการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว คิดออกโดยอิสระ ฉับพลันเป็นอัตโนมัติ (automatic) ด้วยปัญญาญาณ (intuitive) และจิตใต้สำนึกเป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งมักเจือด้วยอารมณ์ และความคุ้นเคยส่วนตัว)
เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์ | Research Talk: EP.4
Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 26 มิ.ย. 64 ว่าด้วยประเด็นยอดฮิตติดกระแส "เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์" Speaker: 1. รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ (อ.ไก่) 2. ดร.วสุพล ตรีโสภากุล (พี่เอก)
เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี & มองโจทย์การวิจัยกัน | Research Talk: EP.3
Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 19 มิ.ย. 64 กับประเด็นที่เข้ากับชีวิตยุคที่โรคโควิดระบาดจนสังคมต้องเข้าสู่การใช้ช่องทางออนไลน์ในการขับเคลื่อนการทำงานและการเรียนรู้ กับ 2 ประเด็นที่ 6 Speaker หลักมาร่วมพูดคุย 1) เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี2) มองโจทย์การวิจัยกันSpeaker :รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)ผศ.ดร.วีรพงษ์ (อ.ปลี)ผศ.ดร.ณัฐวุธ (อ.บอล)ผศ.ดร.รัฐสภา (อ.ป๊อบ)ดร.ชุลีกร (ผอ.เอียด)อ.ดร.พนิดา
การอิ่มตัวของข้อมูล (Data saturated) มีผลอย่างไรกับการสร้างความรู้ | Research Talk: EP.2
Research Talk: EP.2 ใน Clubhouse เสาร์ 12 มิ.ย. 64 สะท้อนปัญหาที่นักวิจัยมักมีคำถามเสมอว่า ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาพอหรือยัง? จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่จะยุติการเก็บข้อมูล? กับ Speaker ทั้ง 6 ท่านมาร่วมพูดคุยหาคำตอบรศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา (อ.กุ้ง)ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา)ผศ.ดร.ฐาศุกร์ (อ.เอ๋)อ.ดร.ชวิตรา (อ.วิว)
Mindset: Growth and Fixed
ครูเคยเห็นใช่ไหมว่า เด็กบางคน ทำบางอย่าง อย่างรวดเร็วเพียงเพื่อได้รับคำชม หรือได้รับรางวัล ในขณะที่บางคนทำบางสิ่งอย่างรอบคอบ ละเอียดละออ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด เราอยากให้ คนในเมืองไทยเป็นแบบแรก หรือแบบหลัง ครูต้องรู้จัก fixed และ growth mindset คำว่า mindset คือ ความเชื่อของเราที่มีผลต่อพฤติกรรม โดย Growth mindset vs fixed
ข่าวสารที่น่าสนใจ
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา : ภาสกร ยุรวรรณ
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา ถ้าเปรียบจักรวาลวิทยาศาสตร์เป็น ‘ใบชา’ หรือ ‘เปลือกตาของพระโพธิธรรม’ ที่ช่วยเบิกเนตรให้มองเห็น ให้ได้เข้าใจสิ่งใดๆ ที่เหนือกว่าอายตนะของเราแล้ว พฤติกรรมศาสตร์ก็คงไม่แคล้วเป็นรสชาติอันซับซ้อนลุ่มลึกแบบ ‘ชาผู่เอ๋อ’ ที่หมักบ่มมาเป็นระยะเวลานาน เปรียบเปรยขึ้นมาแบบนี้อาจดูพิลึกกึกกือ แต่หากพิจารณาโดยถือเหตุผลว่า ‘พฤติกรรมศาสตร์’ เป็นการหลอมรวมหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า ‘บูรณาการ’ มันคงไม่ต่างกันกับต้นชาโบราณที่ดูดซับแร่ธาตุมานานนับร้อยปี ก่อนนำไปหมักตามกรรมวิธีอย่างพิถีพิถัน
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ : รศ.ดร.รังสรรค์ โฉมยา
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ... เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้มีโอกาสหยิบเอาหนังสือชื่อ “Future Human Behavior: Understanding What People Are Going To Do Next” โดย Thimon De
ตัวแปรปรับ และ ตัวแปรแทรก
ตัวแปรปรับ (moderator variable) และ ตัวแปรแทรก (mediator variable) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง เรื่องที่คนมักสงสัย 1. คืออะไร ต่างกันอย่างไร ตัวแปรแทรก คือ ตัวแปรที่อยู่ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย (คลิปการบรรยาย)
วิดีโอบันทึกการบรรยายออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM Meeting หัวข้อ: “RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย” ในโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านการทำปริญญานิพนธ์ ปีการศึกษา 2564 บรรยายโดย รศ.ดุษฎี อินทรประเสริฐ นายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ ให้กับนิสิตหลักสูตร วท.ม. และ ปร.ด. การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์