สมาคมพฤติกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย อักษรย่อว่า สพกศ. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Behavioral Science Association อักษรย่อว่า BSCA
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สำหรับเป็นพื้นที่ที่นักวิจัยสาขาพฤติกรรมศาสตร์จะสร้างความร่วมมือกับสาขาอื่นๆ
ในการสร้างผลงานวิจัย และองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ความเป็นมาและการจัดตั้งสมาคมพฤติกรรมศาสตร์

​สืบเนื่องจากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปิดหลักสูตรการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และมีศิษย์เก่าที่จบการศึกษาออกไปเป็นจำนวนมาก คณาจารย์และศิษย์เก่ามีความตระหนักมาโดยตลอดในเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในเข้มแข็งต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสมัยการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ ได้จัดให้มีการประชุม พูดคุย ให้เกิดการรวมกลุ่มกันของศิษย์สถาบัน บุคลากร ในรูปแบบของชมรม หรือสมาคมอยู่หลายครั้ง จึงเป็นที่มาของการดำเนินการจัดตั้งสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์

เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ของสมาคมใช้ภาพบุคคลแทนนักวิจัยสาขาพฤติกรรมศาสตร์ที่สร้างความร่วมมือกับสาขาอื่นๆ ในการสร้างผลงานวิจัย และองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสมาคม

  • ข้อที่ 1 เป็นศูนย์กลางให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์และแนวคิดใหม่ ๆ ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพ สังคมและประเทศชาติ

  • ข้อที่ 2 สร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยสาขาพฤติกรรมศาสตร์และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการ
    ผลิตผลงานวิจัย และผลงานอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคม

  • ข้อที่ 3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างสมาคมกับสถาบันอื่นๆที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  • ข้อที่ 4 ส่งเสริมให้สมาชิกมีบทบาทร่วมกันในการเพิ่มพูนความรู้ และให้ความช่วยเหลือกันในด้านวิชาการ การวิจัย และสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์หรือข้อกําหนดของสมาคมฯ

  • ข้อที่ 5 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีบทบาทร่วมกันในการเพิ่มพูนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนให้ความช่วยเหลือสมาชิกในด้านวิชาการ การวิจัย และสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดของสมาคมฯ

  • ข้อที่ 6 เป็นสมาคมวิชาชีพอิสระ ที่มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการโดยไม่ดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมพฤติกรรมศาสตร์

ท่านที่สนใจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ในการสร้างผลงานวิจัย และองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สามารถศึกษารายละเอียดและสมัครได้ที่ Link ด้านล่าง