พฤติกรรมศาสตร์จากประสบการณ์
แหล่งรวบรวมบทความว่าด้วย “ความหมายของพฤติกรรมศาสตร์จากประสบการณ์” ความคิด มุมมอง และประสบการณ์ของนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน เพื่อถ่ายทอดความหมาย สื่อสารความเป็นพฤติกรรมศาสตร์แบบบูรณาการ
March 2023
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ : ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ไปด้วยกันได้ดีมากๆ ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมเขาจึงแสดงพฤติกรรมแบบนี้ หลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ยังช่วยเสริมกันกับหลักการสังคมสงเคราะห์ ทั้งการทำงานโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง (person-centered) การเคารพความหลากหลาย การไม่ตัดสิน
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง : ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เข้าใจกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนักการเมือง เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า “นักการเมืองที่ดี (มีจริยธรรม) นั้น ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองมาอย่างไร” พฤติกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา
January 2023
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ : ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีความลึกซึ้งและซับซ้อนจึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายมาประกอบกันเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น หากเปรียบการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์เป็นทรงกลมจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งเชิงลึกดิ่งลงสู่จุดศูนย์กลางของทรงกลม คือ มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงลงไปในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์และเชิงกว้างกระจายและครอบคลุมไปตามพื้นผิวทรงกลม คือ ศึกษาพฤติกรรมอย่างหลากหลาย เหมือนและแตกต่าง ยั่งยืนและผันแปร
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? : ผศ.ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? แม้จะมีคำอธิบายที่เป็นหลักแต่ดูเหมือนว่าคำตอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ หากจะทำความเข้าใจถึงการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรเข้าใจคือความหมาย “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งดูเหมือนการให้ความหมายของคำนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการกล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์คืออะไร จึงมีคำตอบที่หลากหลายไปตามบริบทของผู้ตอบ
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : ผศ.ดร.ชวิตรา ตันติมาลา
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ รับรู้ สั่งสม บ่มเพาะให้ความหมาย และคุณค่าโดย “คนใน”
พฤติกรรมศาสตร์กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C : ดร.ปิยวรรณ บุญเพ็ญ
พฤติกรรมศาสตร์ กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C พฤติกรรม คือ