admin

About BSCA admin

This author has not yet filled in any details.
So far BSCA admin has created 27 blog entries.

พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ : ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี

พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ไปด้วยกันได้ดีมากๆ ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมเขาจึงแสดงพฤติกรรมแบบนี้ หลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ยังช่วยเสริมกันกับหลักการสังคมสงเคราะห์ ทั้งการทำงานโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง (person-centered) การเคารพความหลากหลาย การไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเหมารวม นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษา (counseling) ในทางสังคมสงเคราะห์ได้เป็นอย่างดี สรุปคือ ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์มีประโยชน์ในการทำงานและในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ _______ ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง : ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว

พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เข้าใจกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนักการเมือง เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า “นักการเมืองที่ดี (มีจริยธรรม) นั้น ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองมาอย่างไร” พฤติกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิดทางศาสนา ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการศึกษาด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ จนทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ลุ่มลึก อธิบายได้อย่างละเอียดว่ากรณีศึกษา (นักการเมือง) ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองจากตัวกลาง (agent) สำคัญ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน สถาบันศาสนา อาชีพก่อนเข้าทำงานการเมือง พรรคการเมือง/กลุ่มการเมืองที่สังกัด มาอย่างไร จนเกิดผลลัพธ์ คือ การมีจริยธรรมในการทำงานการเมือง ภายหลังจากจบการศึกษา ได้ทำงานวิจัยอีกหลายเรื่องทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนจากสถาบันฯ มาใช้โดยตรง ทั้งการออกแบบการวิจัยที่มีความถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาการวิจัย และการสร้างเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ รวมถึงแนวทางการต่อยอดหรือการนำองค์ความประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ _______ ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) รุ่น 4 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว

สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ : ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์

สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีความลึกซึ้งและซับซ้อนจึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายมาประกอบกันเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น หากเปรียบการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์เป็นทรงกลมจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งเชิงลึกดิ่งลงสู่จุดศูนย์กลางของทรงกลม คือ มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงลงไปในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์และเชิงกว้างกระจายและครอบคลุมไปตามพื้นผิวทรงกลม คือ ศึกษาพฤติกรรมอย่างหลากหลาย เหมือนและแตกต่าง ยั่งยืนและผันแปร คงที่และเปลี่ยนแปลงตามแต่บริบท พื้นที่และช่วงเวลาทำให้การศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มีความน่าสนใจและยังคงมีเรื่องให้ต้องศึกษาอยู่เสมออย่างไม่สิ้นสุด พฤติกรรมศาสตร์เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เพราะการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะนำทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียวมาอธิบายได้อย่างถ้วนทั่วทั้งหมดเนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์อาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกของมนุษย์แต่ละคนที่แตกต่างกันซึ่งเปรียบดุจสีสันที่มีเฉดสีแตกต่างและหลากหลายออกไปตามแต่ละบุคคล ดังนั้นนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องเป็นผู้รอบรู้ด้านแนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลาย รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยซึ่งส่งผลต่อความแปรเปลี่ยนไม่คงที่หยุดนิ่งของมนุษย์เพื่อให้นักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์สามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีไปใช้ในการอธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย ควบคุมและปรับพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในแนวทางที่ดีและเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกต่อไป การศึกษาสมรรถนะเป็นหนึ่งในการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์โดยองค์ประกอบของสมรรถนะมนุษย์มักอุปมาเป็นรูปภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่พ้นน้ำซึ่งสามารถมองเห็น สังเกตรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส ได้แก่ ความรู้และทักษะ และส่วนที่อยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่าส่วนที่พ้นน้ำแต่กลับยากต่อการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น แรงจูงใจ เจตคติ และคุณค่าภายในตน อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของสมรรถนะทั้งหมดส่งผลต่อการทำความเข้าใจเพื่อพัฒนาสมรรถนะของมนุษย์ให้มีศักยภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาสมรรถนะจึงเป็นพฤติกรรมศาสตร์ที่ผู้สนใจศึกษาต้องเข้าใจทั้งปัจจัยภายในและภายนอกของมนุษย์โดยรอบรู้ทั้งทฤษฎีด้านจิตวิทยา สังคมวิทยาและศึกษาศาสตร์จึงจะสามารถทำความเข้าใจ อธิบายและกำหนดแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ยังคงเป็นความท้าทายของนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้รักการเรียนรู้ให้เข้ามาศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ยังสามารถนำศาสตร์สหวิทยาการไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกมิติของชีวิตตนเองและผู้อื่น ครอบคลุมทุกบริบทพื้นที่ด้วยความเป็นสากลซึ่งเป็นจุดเด่นของพฤติกรรมศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่มกำเนิดพฤติกรรมศาสตร์และยาวนานตราบจนปัจจุบัน _______ ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์ นักวิจัยอิสระ (ด้านพฤติกรรมศาสตร์และการเรียนรู้) ปร.ด. การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ (มีวิชาเรียน) รุ่นที่ 10

การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? : ผศ.ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ

การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? แม้จะมีคำอธิบายที่เป็นหลักแต่ดูเหมือนว่าคำตอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ หากจะทำความเข้าใจถึงการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรเข้าใจคือความหมาย “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งดูเหมือนการให้ความหมายของคำนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการกล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์คืออะไร จึงมีคำตอบที่หลากหลายไปตามบริบทของผู้ตอบ แม้เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนและมีประสบการณ์การทำวิจัยหรือการเป็นนักปฏิบัติด้านพฤติกรรมศาสตร์ก็สามารถให้ความหมายที่ต่างกันได้ การอธิบายพฤติกรรมศาสตร์ของแต่ละคนอาจอธิบายได้ไม่เหมือนกัน อยู่ที่องค์ประกอบหรือบริบทแวดล้อมที่ผู้อธิบายกำลังนึกถึง แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะของศิษย์เก่าและอาจารย์ประจำของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตอบคำถามของครูบาอาจารย์ หรือหากจะกล่าวกันจริง ๆ ก็นับตั้งแต่วันสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิตของสถาบันฯ กรรมการสอบสัมภาษณ์ท่านก็ถามเป็นคำถามแรกๆ ว่า ในมุมมองของหนูพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร ตอบมาเถอะตามความเข้าใจ ไม่มีมีผิดมีถูก ตอนนั้นก็สบายใจ เอาล่ะ ! ตามมุมมอง ไม่มีถูกมีผิด สบายแล้วเรา แต่ทว่าการตอบไป ณ ตอนนั้น เมื่อปี 2545 หลักใหญ่จะความจะไปเน้นที่การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จำได้ว่าตอบยาวมากและวนไปวนมาอยู่ที่พฤติกรรมมนุษย์ กรรมการสอบท่านเมตตาอธิบายเพิ่มเติมว่า เราไม่มองแต่พฤติกรรมซึ่งตอนนั้นท่านใช้คำว่า ตัวแปรตาม แต่พฤติกรรมศาสตร์ยังดูตัวแปรต้นที่นำมาอธิบายพฤติกรรมที่ใช้หลากหลายศาสตร์ อยากรู้ต้องมาเรียน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความสนใจในศาสตร์นี้อย่างจริงจัง จากประสบการณ์การศึกษาเล่าเรียน บทบาทนักวิจัย อาจารย์ผู้สอนและดูแลการทำปริญญานิพนธ์ของนิสิตจากรุ่นสู่รุ่น การให้ความหมายของคำว่า พฤติกรรมศาสตร์ ก็ยังไม่เหมือนกันในทุกครั้ง แต่หลักใหญ่ใจความที่คงเส้นคงวาและปรากฏในการอธิบายทุกครั้ง คือ เป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาศัยมุมมองจากศาสตร์ที่หลากหลายมากกว่าหนึ่งศาสตร์ขึ้นไปเพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายการเกิดขึ้นของพฤติกรรมบุคคล กลุ่ม และสังคม ฉะนั้นจุดเน้นจึงอยู่ตรงที่นักวิจัยมีความเข้าใจถึงขอบเขตหรือพรมแดนความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ว่าครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับศาสตร์ใดได้บ้าง

อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : ผศ.ดร.ชวิตรา ตันติมาลา

อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ รับรู้ สั่งสม บ่มเพาะให้ความหมาย และคุณค่าโดย “คนใน” ภายใต้เงื่อนไขของเวลา สถานที่ และบริบท อัตลักษณ์ของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ถูกประกอบสร้างจาก “คนใน” อาทิ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า บุคลากร และผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกคนต่างมีตัวตน ภูมิหลัง ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตน เมื่อเข้ามาปฏิสัมพันธ์กันระยะหนึ่ง จึงเกิดการเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมเฉพาะ ตระหนักรู้คุณค่า และความหมายของวัฒนธรรมที่ถูกผสมผสานอย่างลงตัวร่วมกัน อัตลักษณ์ร่วมทางสังคมของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ คือ ชุมชนทางวิชาการที่สามารถแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการวิจัยได้อย่างอิสระ เปิดกว้างทางความคิด โอบรับความเห็นต่างอย่างหลากหลาย เป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อสมอง และหัวใจ การได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งในมุมมองของศิษย์เก่า คนในสถาบัน และคนในศาสตร์ จนกระทั่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ให้สำเร็จลุล่วงนั้น นับได้ว่าเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่า และมีมูลค่าทางวิชาการสูง สร้างมาตรฐานทางวิชาการและการวิจัยให้กับตนเองในปัจจุบันและอนาคต อัตลักษณ์ร่วมทางวิชาการของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ คือ งานวิจัยที่มีการออกแบบที่รัดกุม การใช้เครื่องมือที่เข้มแข็ง การเก็บข้อมูลที่เข้มข้น และผลลัพท์เชิงประจักษ์ที่นำไปใช้ได้จริง ผลผลิตงานวิจัยในหลักสูตรการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ถือได้ว่าบุกเบิก และแผ่วถางป่าดงดิบอันลึกลับ

พฤติกรรมศาสตร์กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C : ดร.ปิยวรรณ บุญเพ็ญ

พฤติกรรมศาสตร์ กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C พฤติกรรม คือ ส่วนประสมที่ลงตัวระหว่าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้กระทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ และสถานการณ์ที่บังคับ จูงใจ หรือกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ดังนั้น พฤติกรรมศาสตร์จึงไม่ใช่ศาสตร์ใดเพียงศาสตร์เดียว แต่เป็นส่วนผสมของทุกศาสตร์ที่สามารถทำให้เข้าใจและอธิบายสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเหล่านั้นของมนุษย์ได้ ดังสูตรคณิตศาสตร์ที่ว่า A ∩ B ∩ C = พฤติกรรมศาสตร์ _______ ดร.ปิยวรรณ บุญเพ็ญ วท.ม.วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 3 ปร.ด. วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (เน้นวิจัย) รุ่นที่ 8

พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม : ดร.มติ ทาเจริญศักดิ์

พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม ผมจดจำได้เป็นอย่างดีว่าเข้ามาเรียนสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์เพราะอะไร หัวข้อที่อยู่ในหัวของผมในตอนนั้น ไม่ไกลไปกว่าเกมหมากกระดานที่ผมเล่นมาเนินนาน เกมหมากล้อม และคิดว่ามีหัวข้อแล้วจบไวแน่นอน แต่เมื่อเริ่มศึกษาเรื่องนี้ระหว่างศึกษาจึงเริ่มรู้สึกถึงกำแพงอันสูงลิบและทอดยาวออกไปโดยไม่มีจุดสิ้นสุดและถอนเรื่องนี้ออกจากการเป็นหัวข้อทำวิทยานิพนธ์จบ แต่แล้วเมื่อวันที่สอบวัดคุณสมบัติครั้งแรกเสร็จสิ้น แม้ผมจะไม่ผ่านแต่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสอบครั้งนี้ผ่านอาจารย์หลายท่าน กลับทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำจบอย่างเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรเป็นความเหน็ดเหนื่อยที่ทำแล้วคนอื่นยอมรับ ผมจึงกลับเอาหัวเรื่องเกี่ยวกับการเล่นหมากล้อมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อเริ่มต้นการเดินทางอันแสนยาวนานในการทำวิทยานิพนธ์ซะที และการนำมาเป็นหัวข้อก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เพราะมันคือฝันร้ายในการทำวิทยานิพนธ์อย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เหมือนจะมีมากมายแต่แท้จริงแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้นกลับมีเพียงหยิบมือเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ผ่านการเล่นหมากล้อม ถ้าเรียนสาขาอื่น ผมคงยอมแพ้และเปลี่ยนหัวเรื่องใหม่ไปแล้ว เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่อะไรดี มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับผลของการเล่นหมากล้อมต่อผู้เล่นในหลากหลายมิติ แต่เมื่อเจอกับคำถามของอาจารย์หลายท่านในสาขาพฤติกรรมศาสตร์ กลับทำให้เรากลับมาตั้งคำถามงานวิจัยเหล่านั้นว่า มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หากเราไม่สามารถตอบได้ มันไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่จะทำงานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้แล้วเราไม่สามารถที่จะตอบคำถามว่าเกิดขึ้นมาอย่างไรได้ มันคงจะไม่มีใครยอมรับแน่แท้และมันก็ไม่สามารถนำงานนี้ไปใช้อะไรได้อีกด้วย การอ่านและค้นคว้าอย่างหนักหน่วงจึงเริ่มขึ้นอย่างมุมานะและไม่ย่อท้อ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทั้งระเบียบวิธีวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง รวมถึง พื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาในการแสวงหาความจริงต่าง ๆ เพื่อหาคำตอบในวิทยานิพนธ์ของผมให้ได้ หากเรียนในสาขาอื่น คงจะยอมแพ้อีกครั้งและเปลี่ยนหัวข้อไปอย่างแน่แท้ แต่เพราะพฤติกรรมศาสตร์เป็นการบูรณาการหลากหลายสาขาอย่างเป็นสหวิทยการ (InterDiscipline) ทำให้การผนวกเอาแนวคิดต่างสาขา ต่างศาสตร์โดยมีจิตวิทยาเป็นแนวหลักในการอธิบายการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้ผมสามารถนำแนวคิดที่หลากหลายมาผสาน ผนวกเข้าด้วยกันและในที่สุดด้วยประสบการณ์การในการสอนหมากล้อมมายาวนาน เกือบ 20 ปี และการศึกษาค้นคว้าอย่างหนักหน่วง ผมก็สามารถคลำทางจนค้นพบที่แสนวิเศษนี้และมันเป็นการค้นพบอย่างยิ่งใหญ่มากซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบในหลายมุมมองอีกมาก

34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ

34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ในฐานะ ผู้สอน ผู้วิจัย และผู้บริหารหลักสูตร อยากให้ความเห็นในประเด็น ต่อไปนี้ ประเด็นแรก "การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ " เป็นศาสตร์ที่เน้นการวิจัย เป็นเครื่องมือในการตอบคำถาม 1) อะไรคือสาเหตุของพฤติกรรมของคน กลุ่มคน โดยในการอธิบายนั้นคำนึงถึง ลักษณะส่วนตัว และบริบทแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันไปพร้อมกันด้วย 2) เปลี่ยนพฤติกรรมของคนและกลุ่มคน โดยใช้กลไกภายในของบุคคลและกลไกในสังคม เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ประเด็นที่สอง โมเดล หรือ ทฤษฎีเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งหมายถึง คำอธิบาย หลักการ หรือ ทฤษฎี ที่ได้จากการทำวิจัย จะเป็นคำอธิบายเชิงบูรณาการ หลายสาขาวิชา มากกว่าจะเป็นสาขาเดี่ยว หรือคำอธิบายเดี่ยว ประเด็นที่สาม การบ่มเพาะนักวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ควรเน้น ความคิดเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์ ความคิดการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และการสร้างร่วมมือในระหว่างทีม ทักษะทั้งหมดนี้ควรใส่ในรายวิชาอย่างเข้มข้น ดังนั้น นักวิจัยอาจเริ่มจากทักษะนักวิจัยแบบเดี่ยวในสาขาใดก็ได้ แต่เมื่อได้เรียนรู้ และเพิ่มพูนการคิด และการทำวิจัย

พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน : ดร.เธียรไชย ยักทะวงษ์

พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน “การทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่กดดันมั้ย? ทำงานเครียดหรือเปล่า? เคย Burn Out ถึงขั้นอยากลาออกบ้างมั้ย? คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ ในฐานะที่ทำงานด้านการพัฒนาคนในองค์กร มักจะชวนคิดชวนคุยให้ทั้งผู้ที่ตั้งคำถามรวมถึงพนักงานในองค์กรได้ “เข้าใจ ยอมรับ และปรับตัว” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาอยู่เสมอ “เข้าใจ” ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกองค์กรล้วนต้องการผลกำไร ดังนั้นไม่มีองค์กรใดที่ทำงานด้วยแล้ว ไม่กดดัน ไม่เครียด แต่เราต้องจัดการให้คนในองค์กรมีความเครียดในระดับที่เหมาะสม เพราะความเครียดเล็กน้อย คือ สิ่งที่ดี ทำให้พนักงานกระตือรือร้นอยู่เสมอ มีการวางแผนที่ดี ไม่กลายเป็น “Dead Wood” “ยอมรับ” ในความสามารถของตน ตระหนักรู้ในตน ในระดับ Individual และความแตกต่างระหว่างบุคคล ในระดับ Group รวมถึงความเป็นไปขององค์กร ในระดับ Organization ในขั้นของการ “เข้าใจ” และ “ยอมรับ” เน้นการพัฒนาพนักงานในด้าน “Mindset” ซึ่งเป็น Set ของความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยม ทัศนคติ ความรู้และอื่นๆ

พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา : ภาสกร ยุรวรรณ

พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา ถ้าเปรียบจักรวาลวิทยาศาสตร์เป็น ‘ใบชา’ หรือ ‘เปลือกตาของพระโพธิธรรม’ ที่ช่วยเบิกเนตรให้มองเห็น ให้ได้เข้าใจสิ่งใดๆ ที่เหนือกว่าอายตนะของเราแล้ว พฤติกรรมศาสตร์ก็คงไม่แคล้วเป็นรสชาติอันซับซ้อนลุ่มลึกแบบ ‘ชาผู่เอ๋อ’ ที่หมักบ่มมาเป็นระยะเวลานาน เปรียบเปรยขึ้นมาแบบนี้อาจดูพิลึกกึกกือ แต่หากพิจารณาโดยถือเหตุผลว่า ‘พฤติกรรมศาสตร์’ เป็นการหลอมรวมหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า ‘บูรณาการ’ มันคงไม่ต่างกันกับต้นชาโบราณที่ดูดซับแร่ธาตุมานานนับร้อยปี ก่อนนำไปหมักตามกรรมวิธีอย่างพิถีพิถัน ดังนี้แล้ว รสชาติที่ได้ย่อมลึกล้ำ ซับซ้อน พูดแบบนี้อาจดูเหมือน ‘พฤติกรรมศาสตร์’ ตีความได้กว้างเหมือนหยั่งขาสองข้างอยู่บนแพ ไปเอาของคนอื่นมานิด ไปหยิบอันนี้มาหน่อย ทว่าขาดแก่นแกนกระนั้นหรือ? - เปล่าเลย จะว่าไปแล้ว มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นไปซะทั้งหมด เพราะหากพิจารณาดูว่า ถ้าแบ่งมนุษย์เป็นสองสิ่งง่ายๆ อย่าง จิต-กาย แบบ เดส์การตส์ ที่ว่า จิตที่เป็นวัตถุแห่งการศึกษาของจิตวิทยา มันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยิ่งถ้ามองให้กว้างขึ้นถึงปัจจัยอื่นๆ ในเชิงสังคมวิทยา มองวัฒนธรรมในรูปแบบมานุษยวิทยา หรือคิดในแง่จิตวิญญาณจากนิทานปรัมปรามันก็คงทำนองเดียวกัน ดังนั้น การอธิบายพฤติกรรมซึ่งเป็นการกระทำของมนุษย์อันแสนจะซับซ้อนจะใช้ศาสตร์เดียวเพียวๆ ได้อย่างไร ธรรมชาติของพฤติกรรมศาสตร์เป็นเช่นนี้ ช่างซับ และซ้อน ไม่ต่างกับชาโบราณ ที่ไม่ว่าจะชิมดื่มยังไงก็ยากระบุให้ถึงรสอันเป็นแก่นแท้

Go to Top