White Paper: พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ในประเด็นด้านเด็กและเยาวชน
สมาคมพฤติกรรมศาสตร์ขอเสนอรายงาน "White Paper" ฉบับพิเศษ ซึ่งเป็นผลสรุปจากเวทีเสวนาวิชาการ BSCA Forum 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของพฤติกรรมศาสตร์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในมิติ “เด็กและเยาวชน” ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและทรงคุณค่าที่สุดต่ออนาคตของสังคมไทย ในรายงานฉบับนี้ ท่านจะได้พบกับ ข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง บทสังเคราะห์องค์ความรู้จากการเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วน ข้อเสนอเชิงนโยบายและโจทย์วิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาเชิงระบบ แนวทางการประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการสร้างสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ความในใจนายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ขณะนั้น ตัวเองยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว ได้รับแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายรุ่น ให้สร้างพื้นที่ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสื่อสารระหว่างนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กับนักวิจัยสาขาอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ความคิดในตอนนั้นก็เห็นด้วย และมีความประสงค์จะให้สาขาพฤติกรรมศาสตร์มีความเข้มแข็ง มีรากฐานของการพัฒนาไปสู่สาขาที่มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งควรมีองคาพยพสำคัญคือ 1) หลักสูตรการเรียนการสอน 2) มีวารสารทางวิชาการ และ 3) มีสมาคมทางวิชาการ/วิจัย ในปีนั้น จึงขอความร่วมมือจากศิษย์เก่ารุ่น 1
ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์
คำกล่าวแสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ผมเริ่มต้นชีวิตวิชาการแบบเข้มข้น (ภายหลังจากเรียนจบ Ph.D. จากอเมริกา) กลับมาทำงานวิชาการ ณ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2542 ในช่วงเริ่มต้นชีวิตวิชาการภายในรั้ว มศว ยุคอดีต ผมไม่เคยลืมเลย…ผมได้รับโอกาสเชิญชวนจาก ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ : ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ไปด้วยกันได้ดีมากๆ ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมเขาจึงแสดงพฤติกรรมแบบนี้ หลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ยังช่วยเสริมกันกับหลักการสังคมสงเคราะห์ ทั้งการทำงานโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง (person-centered) การเคารพความหลากหลาย การไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเหมารวม นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษา (counseling) ในทางสังคมสงเคราะห์ได้เป็นอย่างดี สรุปคือ ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์มีประโยชน์ในการทำงานและในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ _______ ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง : ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เข้าใจกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนักการเมือง เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า “นักการเมืองที่ดี (มีจริยธรรม) นั้น ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองมาอย่างไร” พฤติกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิดทางศาสนา ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการศึกษาด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ จนทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ลุ่มลึก อธิบายได้อย่างละเอียดว่ากรณีศึกษา (นักการเมือง) ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองจากตัวกลาง (agent) สำคัญ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ : ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีความลึกซึ้งและซับซ้อนจึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายมาประกอบกันเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น หากเปรียบการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์เป็นทรงกลมจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งเชิงลึกดิ่งลงสู่จุดศูนย์กลางของทรงกลม คือ มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงลงไปในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์และเชิงกว้างกระจายและครอบคลุมไปตามพื้นผิวทรงกลม คือ ศึกษาพฤติกรรมอย่างหลากหลาย เหมือนและแตกต่าง ยั่งยืนและผันแปร คงที่และเปลี่ยนแปลงตามแต่บริบท พื้นที่และช่วงเวลาทำให้การศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มีความน่าสนใจและยังคงมีเรื่องให้ต้องศึกษาอยู่เสมออย่างไม่สิ้นสุด พฤติกรรมศาสตร์เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เพราะการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะนำทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียวมาอธิบายได้อย่างถ้วนทั่วทั้งหมดเนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์อาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกของมนุษย์แต่ละคนที่แตกต่างกันซึ่งเปรียบดุจสีสันที่มีเฉดสีแตกต่างและหลากหลายออกไปตามแต่ละบุคคล ดังนั้นนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องเป็นผู้รอบรู้ด้านแนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลาย รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยซึ่งส่งผลต่อความแปรเปลี่ยนไม่คงที่หยุดนิ่งของมนุษย์เพื่อให้นักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์สามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีไปใช้ในการอธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย ควบคุมและปรับพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในแนวทางที่ดีและเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกต่อไป การศึกษาสมรรถนะเป็นหนึ่งในการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์โดยองค์ประกอบของสมรรถนะมนุษย์มักอุปมาเป็นรูปภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? : ผศ.ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? แม้จะมีคำอธิบายที่เป็นหลักแต่ดูเหมือนว่าคำตอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ หากจะทำความเข้าใจถึงการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรเข้าใจคือความหมาย “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งดูเหมือนการให้ความหมายของคำนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการกล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์คืออะไร จึงมีคำตอบที่หลากหลายไปตามบริบทของผู้ตอบ แม้เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนและมีประสบการณ์การทำวิจัยหรือการเป็นนักปฏิบัติด้านพฤติกรรมศาสตร์ก็สามารถให้ความหมายที่ต่างกันได้ การอธิบายพฤติกรรมศาสตร์ของแต่ละคนอาจอธิบายได้ไม่เหมือนกัน อยู่ที่องค์ประกอบหรือบริบทแวดล้อมที่ผู้อธิบายกำลังนึกถึง แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะของศิษย์เก่าและอาจารย์ประจำของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตอบคำถามของครูบาอาจารย์ หรือหากจะกล่าวกันจริง ๆ ก็นับตั้งแต่วันสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิตของสถาบันฯ กรรมการสอบสัมภาษณ์ท่านก็ถามเป็นคำถามแรกๆ ว่า ในมุมมองของหนูพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร ตอบมาเถอะตามความเข้าใจ ไม่มีมีผิดมีถูก ตอนนั้นก็สบายใจ เอาล่ะ
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : ผศ.ดร.ชวิตรา ตันติมาลา
อัตลักษณ์ “คนใน” การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ รับรู้ สั่งสม บ่มเพาะให้ความหมาย และคุณค่าโดย “คนใน” ภายใต้เงื่อนไขของเวลา สถานที่ และบริบท อัตลักษณ์ของการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ถูกประกอบสร้างจาก “คนใน” อาทิ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า บุคลากร และผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกคนต่างมีตัวตน ภูมิหลัง
พฤติกรรมศาสตร์กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C : ดร.ปิยวรรณ บุญเพ็ญ
พฤติกรรมศาสตร์ กับสูตรคณิตศาสตร์ A ∩ B ∩ C พฤติกรรม คือ ส่วนประสมที่ลงตัวระหว่าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้กระทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ และสถานการณ์ที่บังคับ จูงใจ หรือกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ดังนั้น พฤติกรรมศาสตร์จึงไม่ใช่ศาสตร์ใดเพียงศาสตร์เดียว แต่เป็นส่วนผสมของทุกศาสตร์ที่สามารถทำให้เข้าใจและอธิบายสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเหล่านั้นของมนุษย์ได้ ดังสูตรคณิตศาสตร์ที่ว่า A ∩ B ∩ C
พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม : ดร.มติ ทาเจริญศักดิ์
พฤติกรรมศาสตร์กับหมากล้อม ผมจดจำได้เป็นอย่างดีว่าเข้ามาเรียนสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์เพราะอะไร หัวข้อที่อยู่ในหัวของผมในตอนนั้น ไม่ไกลไปกว่าเกมหมากกระดานที่ผมเล่นมาเนินนาน เกมหมากล้อม และคิดว่ามีหัวข้อแล้วจบไวแน่นอน แต่เมื่อเริ่มศึกษาเรื่องนี้ระหว่างศึกษาจึงเริ่มรู้สึกถึงกำแพงอันสูงลิบและทอดยาวออกไปโดยไม่มีจุดสิ้นสุดและถอนเรื่องนี้ออกจากการเป็นหัวข้อทำวิทยานิพนธ์จบ แต่แล้วเมื่อวันที่สอบวัดคุณสมบัติครั้งแรกเสร็จสิ้น แม้ผมจะไม่ผ่านแต่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสอบครั้งนี้ผ่านอาจารย์หลายท่าน กลับทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าเราจะทำจบอย่างเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรเป็นความเหน็ดเหนื่อยที่ทำแล้วคนอื่นยอมรับ ผมจึงกลับเอาหัวเรื่องเกี่ยวกับการเล่นหมากล้อมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อเริ่มต้นการเดินทางอันแสนยาวนานในการทำวิทยานิพนธ์ซะที และการนำมาเป็นหัวข้อก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เพราะมันคือฝันร้ายในการทำวิทยานิพนธ์อย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เหมือนจะมีมากมายแต่แท้จริงแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้นกลับมีเพียงหยิบมือเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ผ่านการเล่นหมากล้อม ถ้าเรียนสาขาอื่น ผมคงยอมแพ้และเปลี่ยนหัวเรื่องใหม่ไปแล้ว เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่อะไรดี
34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ
34 ปี ที่รู้จักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ในฐานะ ผู้สอน ผู้วิจัย และผู้บริหารหลักสูตร อยากให้ความเห็นในประเด็น ต่อไปนี้ ประเด็นแรก "การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ " เป็นศาสตร์ที่เน้นการวิจัย เป็นเครื่องมือในการตอบคำถาม 1) อะไรคือสาเหตุของพฤติกรรมของคน กลุ่มคน โดยในการอธิบายนั้นคำนึงถึง ลักษณะส่วนตัว และบริบทแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันไปพร้อมกันด้วย 2) เปลี่ยนพฤติกรรมของคนและกลุ่มคน
พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน : ดร.เธียรไชย ยักทะวงษ์
พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน “การทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่กดดันมั้ย? ทำงานเครียดหรือเปล่า? เคย Burn Out ถึงขั้นอยากลาออกบ้างมั้ย? คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ ในฐานะที่ทำงานด้านการพัฒนาคนในองค์กร มักจะชวนคิดชวนคุยให้ทั้งผู้ที่ตั้งคำถามรวมถึงพนักงานในองค์กรได้ “เข้าใจ ยอมรับ และปรับตัว” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาอยู่เสมอ “เข้าใจ” ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกองค์กรล้วนต้องการผลกำไร ดังนั้นไม่มีองค์กรใดที่ทำงานด้วยแล้ว ไม่กดดัน ไม่เครียด แต่เราต้องจัดการให้คนในองค์กรมีความเครียดในระดับที่เหมาะสม เพราะความเครียดเล็กน้อย คือ สิ่งที่ดี
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา : ภาสกร ยุรวรรณ
พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา ถ้าเปรียบจักรวาลวิทยาศาสตร์เป็น ‘ใบชา’ หรือ ‘เปลือกตาของพระโพธิธรรม’ ที่ช่วยเบิกเนตรให้มองเห็น ให้ได้เข้าใจสิ่งใดๆ ที่เหนือกว่าอายตนะของเราแล้ว พฤติกรรมศาสตร์ก็คงไม่แคล้วเป็นรสชาติอันซับซ้อนลุ่มลึกแบบ ‘ชาผู่เอ๋อ’ ที่หมักบ่มมาเป็นระยะเวลานาน เปรียบเปรยขึ้นมาแบบนี้อาจดูพิลึกกึกกือ แต่หากพิจารณาโดยถือเหตุผลว่า ‘พฤติกรรมศาสตร์’ เป็นการหลอมรวมหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า ‘บูรณาการ’ มันคงไม่ต่างกันกับต้นชาโบราณที่ดูดซับแร่ธาตุมานานนับร้อยปี ก่อนนำไปหมักตามกรรมวิธีอย่างพิถีพิถัน ดังนี้แล้ว รสชาติที่ได้ย่อมลึกล้ำ ซับซ้อน พูดแบบนี้อาจดูเหมือน
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ : รศ.ดร.รังสรรค์ โฉมยา
พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ... เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้มีโอกาสหยิบเอาหนังสือชื่อ “Future Human Behavior: Understanding What People Are Going To Do Next” โดย Thimon De Jong ผู้เชี่ยวชาญผู้โด่งดัง และถือเป็น Influences ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการอธิบายปรากฏการณ์ของพฤติกรรมนุษย์และวัฒนธรรมทางธุรกิจสมัยใหม่
การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.16 เสาร์ 25 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น” Speaker: 1. ดร.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง (อ.จันทร์เจ้า) ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. นางสาวนิศา ประกอบชัย (มิคกี้) นายกยุวสมาคมแห่งประเทศไทย-สมุทรปราการ ปี 2020 และ
การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.15 เสาร์ 18 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z” Speaker: 1.อ.ดร.นัชชิมา บาเกาะ (อ.มะฮฺ) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2.อ.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์ (อ.เปา) สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว 3.อ.ดร.สุทธิพงศ์
“BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.14 เสาร์ 11 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง Speaker: 1. อ.ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ (อ.ปิ๊ก) อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว 2. คุณพงศ์อมร สุขสมจิตร (พี่อ้าย) อดีตโปรดิวเซอร์รายการ Asia's
ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.13 เสาร์ 4 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย” เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แก่ 1. ท่านสุรจิตร ศรีบุญมา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีนบุรี 2.รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3.อาจารย์ธนวัฒ พิสิฐจินดา
Behavior Medicine ต้านโควิด
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.11 เสาร์ 14 สิงหาคม 2564 กับหัวข้อ “Behavior Medicine ต้านโควิด” เป็นการพูดคุยกับคุณหมอผู้เชียวชาญทั้ง 3 ท่านที่มีความถนัดในแต่ละด้านที่แตกต่างกันทั้งทางด้านจิต ด้านบริการสังคม ด้านสุขภาพกาย ซึ่งได้แก่ 1. ผศ.ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล (อ.หมอตี๋) 2. ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา (อ.บอล) 3.
Positive Psychology: จิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานในสภาวะวิกฤติ
สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.10 เสาร์ 7 สิงหาคม 2564 กับหัวข้อ "Positive Psychology: จิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานในสภาวะวิกฤติ" เป็นการพูดคุยนำเสนอและส่งต่อแนวคิด ตลอดจนวิธีการการทำงานให้มีความสุขได้ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ ยอดผู้เข้าฟังกว่า 70 คน บรรยากาศการพูดคุยและเปลี่ยนกันนั้นเข้มข้น สนุกสนาน ได้สาระความรู้ เวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน ผ่านไปแบบที่ทุกคนเพลินจนลืมดูเวลา ขอบคุณ Speaker:
เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด
Research Talk: Ep.9 เสาร์ 31 กรกฎาคม 2564 "เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง - บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด" Speaker: 1. ดร.ณฐวัฒน์ (อ.โก้) 2. ผศ.ดร.นันท์ชัตสัณห์ (อ.กีต้าร์) 3. ดร.ฐิติกาญจน์ (อ.มิ๊ง) Moderator: ดร.ชวิตรา (อ.วิว)
ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน
Research Talk: Ep.8 เสาร์ 24 กรกฎาคม 2564 "ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน" ร่วมพูดคุยกับ 3 ผู้เกี่ยวข้องกับละครไทย บอกเล่าแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์เชื่อมโยงกับพฤติกรรมมนุษย์ Speaker: 1.ผู้เขียนบทละคร เบญจธารา โอฬารนิธิกุล (พี่โอ๋) 2.ผู้จัดละคร ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนสกุล
Lock Down ไม่ล็อกใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน
Research Talk: วันที่ 17 เดือน 7 EP 7 เวลา 7 PM กับประเด็นที่ศิษย์เก่าสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์นำมาพูดคุยกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่เป็นอย่างยิ่ง “Lock Down ไม่ล็อคใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน” Speaker: ดร. ลลิตา (พี่โรส) ดร. นภัสนันท์ (พี่ติ๊ก)
ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
Research Talk: EP.6 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 10 ก.ค. 64 "ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์" เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญ 3 คำที่คนทำงานวิจัยต้องเจออยู่เป็นประจำ มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ 4 Speaker 1.รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่) 2.ผศ.ดร.วรรณะ (อ.แม็ค) 3.อ.ดร.ชวิตรา
Ai กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์
Research Talk: EP.5 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 3 ก.ค. 64 กับหัวข้อที่ได้รับความสนใจในยุคที่ทุกอย่างเป็นระบบดิจิทัล “AI กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งในปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เราเรียกว่า Ai มีความก้าวหน้าถึงไหน งานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์จะได้ประโยชน์ หรือจะใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของ Ai ได้อย่างไร หรือ กำลังจะถูก Ai แทนที่ จากการร่วมวงพูดคุยหาคำตอบกันผ่านมุมมองของนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ความสำคัญของธีม (Theme) กับการจัดประชุมวิชาการ
คำว่า “ธีม” เป็นคำเล็ก ๆ แต่ดูแหมือนจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกกังวล เป็นภาระ เมื่อได้รับโจทย์ให้ไปคิดธีมการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อเตรียมแผนปฏิบัติงานของสมาคม ให้ก้าวเดินไปอย่างมีทิศทาง แม้ว่ากรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์สูง คิดเร็ว ตอบโจทย์ได้ทันที ในทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์ เชื่อว่าคนเรามีกระบวนการรู้คิดสองแบบคือ กระบวนการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว คิดออกโดยอิสระ ฉับพลันเป็นอัตโนมัติ (automatic) ด้วยปัญญาญาณ (intuitive) และจิตใต้สำนึกเป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งมักเจือด้วยอารมณ์ และความคุ้นเคยส่วนตัว)
เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์ | Research Talk: EP.4
Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 26 มิ.ย. 64 ว่าด้วยประเด็นยอดฮิตติดกระแส "เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์" Speaker: 1. รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ (อ.ไก่) 2. ดร.วสุพล ตรีโสภากุล (พี่เอก)
เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี & มองโจทย์การวิจัยกัน | Research Talk: EP.3
Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 19 มิ.ย. 64 กับประเด็นที่เข้ากับชีวิตยุคที่โรคโควิดระบาดจนสังคมต้องเข้าสู่การใช้ช่องทางออนไลน์ในการขับเคลื่อนการทำงานและการเรียนรู้ กับ 2 ประเด็นที่ 6 Speaker หลักมาร่วมพูดคุย 1) เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี2) มองโจทย์การวิจัยกันSpeaker :รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)ผศ.ดร.วีรพงษ์ (อ.ปลี)ผศ.ดร.ณัฐวุธ (อ.บอล)ผศ.ดร.รัฐสภา (อ.ป๊อบ)ดร.ชุลีกร (ผอ.เอียด)อ.ดร.พนิดา
การอิ่มตัวของข้อมูล (Data saturated) มีผลอย่างไรกับการสร้างความรู้ | Research Talk: EP.2
Research Talk: EP.2 ใน Clubhouse เสาร์ 12 มิ.ย. 64 สะท้อนปัญหาที่นักวิจัยมักมีคำถามเสมอว่า ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาพอหรือยัง? จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่จะยุติการเก็บข้อมูล? กับ Speaker ทั้ง 6 ท่านมาร่วมพูดคุยหาคำตอบรศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา (อ.กุ้ง)ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา)ผศ.ดร.ฐาศุกร์ (อ.เอ๋)อ.ดร.ชวิตรา (อ.วิว)
Mindset: Growth and Fixed
ครูเคยเห็นใช่ไหมว่า เด็กบางคน ทำบางอย่าง อย่างรวดเร็วเพียงเพื่อได้รับคำชม หรือได้รับรางวัล ในขณะที่บางคนทำบางสิ่งอย่างรอบคอบ ละเอียดละออ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด เราอยากให้ คนในเมืองไทยเป็นแบบแรก หรือแบบหลัง ครูต้องรู้จัก fixed และ growth mindset คำว่า mindset คือ ความเชื่อของเราที่มีผลต่อพฤติกรรม โดย Growth mindset vs fixed
ข่าวสารที่น่าสนใจ
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ : ผศ.ดร.อรุณี ลิ้มมณี
พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ พฤติกรรมศาสตร์กับงานสังคมสงเคราะห์ไปด้วยกันได้ดีมากๆ ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมเขาจึงแสดงพฤติกรรมแบบนี้ หลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ยังช่วยเสริมกันกับหลักการสังคมสงเคราะห์ ทั้งการทำงานโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง (person-centered) การเคารพความหลากหลาย การไม่ตัดสิน ตีตรา หรือเหมารวม นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษา (counseling) ในทางสังคมสงเคราะห์ได้เป็นอย่างดี สรุปคือ ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์มีประโยชน์ในการทำงานและในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ _______
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง : ผศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว
พฤติกรรมศาสตร์กับการศึกษาจริยธรรมของนักการเมือง พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เข้าใจกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนักการเมือง เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า “นักการเมืองที่ดี (มีจริยธรรม) นั้น ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองมาอย่างไร” พฤติกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้วยแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิดทางศาสนา ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการศึกษาด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ จนทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ลุ่มลึก อธิบายได้อย่างละเอียดว่ากรณีศึกษา (นักการเมือง) ผ่านกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองจากตัวกลาง
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ : ดร.ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์
สมรรถนะมนุษย์ในมุมมองพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีความลึกซึ้งและซับซ้อนจึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายมาประกอบกันเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น หากเปรียบการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์เป็นทรงกลมจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งเชิงลึกดิ่งลงสู่จุดศูนย์กลางของทรงกลม คือ มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงลงไปในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์และเชิงกว้างกระจายและครอบคลุมไปตามพื้นผิวทรงกลม คือ ศึกษาพฤติกรรมอย่างหลากหลาย เหมือนและแตกต่าง ยั่งยืนและผันแปร คงที่และเปลี่ยนแปลงตามแต่บริบท พื้นที่และช่วงเวลาทำให้การศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มีความน่าสนใจและยังคงมีเรื่องให้ต้องศึกษาอยู่เสมออย่างไม่สิ้นสุด พฤติกรรมศาสตร์เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เพราะการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะนำทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีเดียวมาอธิบายได้อย่างถ้วนทั่วทั้งหมดเนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์อาจเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกของมนุษย์แต่ละคนที่แตกต่างกันซึ่งเปรียบดุจสีสันที่มีเฉดสีแตกต่างและหลากหลายออกไปตามแต่ละบุคคล ดังนั้นนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องเป็นผู้รอบรู้ด้านแนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลาย รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยซึ่งส่งผลต่อความแปรเปลี่ยนไม่คงที่หยุดนิ่งของมนุษย์เพื่อให้นักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์สามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีไปใช้ในการอธิบาย ทำความเข้าใจ ทำนาย
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? : ผศ.ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์คืออะไร? แม้จะมีคำอธิบายที่เป็นหลักแต่ดูเหมือนว่าคำตอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ หากจะทำความเข้าใจถึงการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรเข้าใจคือความหมาย “พฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งดูเหมือนการให้ความหมายของคำนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และองค์ความรู้ของผู้ที่ให้ความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการกล่าวว่า พฤติกรรมศาสตร์คืออะไร จึงมีคำตอบที่หลากหลายไปตามบริบทของผู้ตอบ แม้เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนและมีประสบการณ์การทำวิจัยหรือการเป็นนักปฏิบัติด้านพฤติกรรมศาสตร์ก็สามารถให้ความหมายที่ต่างกันได้ การอธิบายพฤติกรรมศาสตร์ของแต่ละคนอาจอธิบายได้ไม่เหมือนกัน อยู่ที่องค์ประกอบหรือบริบทแวดล้อมที่ผู้อธิบายกำลังนึกถึง แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะของศิษย์เก่าและอาจารย์ประจำของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยผ่านประสบการณ์การตอบคำถามของครูบาอาจารย์ หรือหากจะกล่าวกันจริง ๆ ก็นับตั้งแต่วันสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิตของสถาบันฯ กรรมการสอบสัมภาษณ์ท่านก็ถามเป็นคำถามแรกๆ ว่า