News

How Semantic Analysis Impacts Natural Language Processing

Elements of Semantic Analysis in NLP When it comes to understanding language, semantic analysis provides an invaluable tool. Understanding how words are used and the meaning behind them can give us deeper insight into communication, data analysis, and more. We’ll also explore some of the challenges involved in building robust NLP systems and discuss measuring

By |2024-10-04T03:48:46+07:00July 29th, 2024|News|0 Comments

ความในใจนายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ขณะนั้น ตัวเองยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว ได้รับแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายรุ่น ให้สร้างพื้นที่ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสื่อสารระหว่างนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กับนักวิจัยสาขาอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ความคิดในตอนนั้นก็เห็นด้วย และมีความประสงค์จะให้สาขาพฤติกรรมศาสตร์มีความเข้มแข็ง มีรากฐานของการพัฒนาไปสู่สาขาที่มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งควรมีองคาพยพสำคัญคือ 1) หลักสูตรการเรียนการสอน 2) มีวารสารทางวิชาการ และ 3) มีสมาคมทางวิชาการ/วิจัย ในปีนั้น จึงขอความร่วมมือจากศิษย์เก่ารุ่น 1 ปริญญาเอกสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดี นายกสมาคมฯ คนแรก คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดำสุวรรณ บัณฑิตคนแรกของสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ โดยมี อ.ไก่ เป็นอุปนายกของสมาคมฯ หลังจากนั้นเมื่อ อ.ไก่ เกษียณอายุราชการในปี 2564 ท่านนายกสมาคมฯ ก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อผลักดันให้ อ.ไก่ มาเตรียมตัวเป็นนายกสมาคมฯ และในปี 2567 ก็เลือก อ.ไก่ มาเป็นนายกสมาคม คนที่ 2 ถ้าเอาความในใจมาพูดก็ไม่คิดว่าตัวเองควรจะเป็นนายกสมาคมหรอกนะ เพราะอยากให้เด็ก

By |2024-06-22T13:04:19+07:00June 22nd, 2024|News, พฤติกรรมศาสตร์|0 Comments

ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์

คำกล่าวแสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ผมเริ่มต้นชีวิตวิชาการแบบเข้มข้น (ภายหลังจากเรียนจบ Ph.D. จากอเมริกา) กลับมาทำงานวิชาการ ณ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2542 ในช่วงเริ่มต้นชีวิตวิชาการภายในรั้ว มศว ยุคอดีต ผมไม่เคยลืมเลย…ผมได้รับโอกาสเชิญชวนจาก ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ ให้มาเป็นวิทยากรบรรยายสถิติขั้นสูง เช่น ANCOVA, MANCOVA ให้แก่ผู้สนใจเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้ร่วมทีมอาจารย์สอนวิชาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแก่นิสิต ป.โท และ ป.เอก ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ (ประสบการณ์ดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เขียนหนังสือวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเวลาต่อมา) อีกทั้งร่วมกันสอนวิจัยและสถิติขั้นสูงให้แก่นิสิต ป.เอก สาขาบริหารการศึกษา และสาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรทางด้านวิธีวิทยาการวิจัยร่วมกันในหลายเวทีมากๆ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ ดร.ดุษฎี ท่านขึ้นมาเป็นผู้บริหารของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สมัยแรก ผมได้รับโอกาสจากท่านให้เข้าทำวิจัยประเมินผลโครงการในพระราชดำริฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา) ณ โรงเรียน ตชด.บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง

By |2024-06-13T07:31:42+07:00June 13th, 2024|News, พฤติกรรมศาสตร์|0 Comments

อบรมระยะสั้น เปิดรับสมัครแล้ว

กิจกรรมอบรมระยะสั้นด้านวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา เป็นกิจกรรมที่สมาคมพฤติกรรมศาสตร์จัดขึ้นเพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมหรือบุคคลที่สนใจทั่วไป รวม 13 รายวิชา ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ในรูปแบบออนไลน์ ตอบคำถามที่ว่า “แล้วผู้ที่เข้าร่วมแล้วจะได้ประโยชน์อะไร?” (วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ของสมาคม) 1) เพิ่มความรู้และทักษะ: ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เฉพาะทางและเรียนรู้เทคนิคการวิจัยที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะในการทำวิจัยของผู้เข้าร่วมการอบรมได้ 2) การปรับปรุงคุณภาพวิจัย: ด้วยความรู้และทักษะที่ได้รับ ผู้วิจัยสามารถปรับปรุงคุณภาพของงานวิจัยของตนได้ ทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและมีคุณค่ามากขึ้น 3) เครือข่ายวิชาการ: กิจกรรมนี้เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในสาขาวิชา ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 4) การพัฒนาทักษะการสอน: สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์หรือผู้สอน การอบรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความเข้าใจล่าสุดในสาขาวิชา 5) การสร้างแรงบันดาลใจ: การได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอาจเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นหรือพัฒนาโปรเจกต์วิจัยใหม่ๆ ของตนเองหรือขององค์กร 6) การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ: อบรมเหล่านี้มีการกล่าวถึงการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการวิจัย ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถปรับตัวและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมระยะสั้นเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างพื้นฐานทางวิชาการในวงกว้าง และสนับสนุนการพัฒนาและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ดีขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม/สมัคร คลิกได้ที่ >> ดาวน์โหลดหนังสือเชิญ >> ขอเชิญเข้าร่วมอบรม (ภายนอก) 2566

Go to Top