พฤติกรรมศาสตร์

ความในใจนายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ขณะนั้น ตัวเองยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว ได้รับแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายรุ่น ให้สร้างพื้นที่ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสื่อสารระหว่างนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กับนักวิจัยสาขาอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ความคิดในตอนนั้นก็เห็นด้วย และมีความประสงค์จะให้สาขาพฤติกรรมศาสตร์มีความเข้มแข็ง มีรากฐานของการพัฒนาไปสู่สาขาที่มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งควรมีองคาพยพสำคัญคือ 1) หลักสูตรการเรียนการสอน 2) มีวารสารทางวิชาการ และ 3) มีสมาคมทางวิชาการ/วิจัย ในปีนั้น จึงขอความร่วมมือจากศิษย์เก่ารุ่น 1 ปริญญาเอกสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดี นายกสมาคมฯ คนแรก คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดำสุวรรณ บัณฑิตคนแรกของสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ โดยมี อ.ไก่ เป็นอุปนายกของสมาคมฯ หลังจากนั้นเมื่อ อ.ไก่ เกษียณอายุราชการในปี 2564 ท่านนายกสมาคมฯ ก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อผลักดันให้ อ.ไก่ มาเตรียมตัวเป็นนายกสมาคมฯ และในปี 2567 ก็เลือก อ.ไก่ มาเป็นนายกสมาคม คนที่ 2 ถ้าเอาความในใจมาพูดก็ไม่คิดว่าตัวเองควรจะเป็นนายกสมาคมหรอกนะ เพราะอยากให้เด็ก

By |2024-06-22T13:04:19+07:00June 22nd, 2024|News, พฤติกรรมศาสตร์|0 Comments

ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์

คำกล่าวแสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ผมเริ่มต้นชีวิตวิชาการแบบเข้มข้น (ภายหลังจากเรียนจบ Ph.D. จากอเมริกา) กลับมาทำงานวิชาการ ณ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2542 ในช่วงเริ่มต้นชีวิตวิชาการภายในรั้ว มศว ยุคอดีต ผมไม่เคยลืมเลย…ผมได้รับโอกาสเชิญชวนจาก ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ ให้มาเป็นวิทยากรบรรยายสถิติขั้นสูง เช่น ANCOVA, MANCOVA ให้แก่ผู้สนใจเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้ร่วมทีมอาจารย์สอนวิชาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแก่นิสิต ป.โท และ ป.เอก ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ (ประสบการณ์ดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เขียนหนังสือวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเวลาต่อมา) อีกทั้งร่วมกันสอนวิจัยและสถิติขั้นสูงให้แก่นิสิต ป.เอก สาขาบริหารการศึกษา และสาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรทางด้านวิธีวิทยาการวิจัยร่วมกันในหลายเวทีมากๆ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ ดร.ดุษฎี ท่านขึ้นมาเป็นผู้บริหารของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สมัยแรก ผมได้รับโอกาสจากท่านให้เข้าทำวิจัยประเมินผลโครงการในพระราชดำริฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา) ณ โรงเรียน ตชด.บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง

By |2024-06-13T07:31:42+07:00June 13th, 2024|News, พฤติกรรมศาสตร์|0 Comments

อบรมระยะสั้น เปิดรับสมัครแล้ว

กิจกรรมอบรมระยะสั้นด้านวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา เป็นกิจกรรมที่สมาคมพฤติกรรมศาสตร์จัดขึ้นเพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมหรือบุคคลที่สนใจทั่วไป รวม 13 รายวิชา ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ในรูปแบบออนไลน์ ตอบคำถามที่ว่า “แล้วผู้ที่เข้าร่วมแล้วจะได้ประโยชน์อะไร?” (วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ของสมาคม) 1) เพิ่มความรู้และทักษะ: ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เฉพาะทางและเรียนรู้เทคนิคการวิจัยที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะในการทำวิจัยของผู้เข้าร่วมการอบรมได้ 2) การปรับปรุงคุณภาพวิจัย: ด้วยความรู้และทักษะที่ได้รับ ผู้วิจัยสามารถปรับปรุงคุณภาพของงานวิจัยของตนได้ ทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและมีคุณค่ามากขึ้น 3) เครือข่ายวิชาการ: กิจกรรมนี้เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในสาขาวิชา ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 4) การพัฒนาทักษะการสอน: สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์หรือผู้สอน การอบรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความเข้าใจล่าสุดในสาขาวิชา 5) การสร้างแรงบันดาลใจ: การได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอาจเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นหรือพัฒนาโปรเจกต์วิจัยใหม่ๆ ของตนเองหรือขององค์กร 6) การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ: อบรมเหล่านี้มีการกล่าวถึงการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการวิจัย ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถปรับตัวและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมระยะสั้นเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างพื้นฐานทางวิชาการในวงกว้าง และสนับสนุนการพัฒนาและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ดีขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม/สมัคร คลิกได้ที่ >> ดาวน์โหลดหนังสือเชิญ >> ขอเชิญเข้าร่วมอบรม (ภายนอก) 2566

ตัวแปรปรับ และ ตัวแปรแทรก

ตัวแปรปรับ (moderator variable) และ ตัวแปรแทรก (mediator variable) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง เรื่องที่คนมักสงสัย 1. คืออะไร ต่างกันอย่างไร ตัวแปรแทรก คือ ตัวแปรที่อยู่ระหว่างตัวแปร 2 ตัว เช่น บุคลิกภาพแบบแสดงตัว ส่งผลทางบวกต่อ ความผาสุกทางจิตใจ ผ่านตัวแปรแทรกคือ ความสามารถในการกำกับอารมณ์ด้านลบ เราจะสามารถลากเส้นแสดงอิทธิพล จาก บุคลิกภาพแบบแสดงตัวไปยัง ความสามารถในการกำกับอารมณ์ลบ และเส้นแสดงอิทธิพลจากความสามารถในการกำกับอารมณ์ลบ ไปสู่ความผาสุกทางจิตใจ ในทางตรงกันข้าม ตัวแปรปรับ เป็นตัวแปรที่ไปปรับความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของตัวแปร 2 ตัว เช่น เพศ เป็นตัวแปรปรับ ความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรมจริยธรรม 2. ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง พฤติกรรมศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรม โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่ออธิบายว่า ตัวแปรตาม มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นผลจากตัวแปร

ร่างทรง ความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรม “ทางเดินคู่ขนานร่างกายและจิตใจ”

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.20 เสาร์ 30 กันยายน 2564 กับหัวข้อ ร่างทรง ความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรม "ทางเดินคู่ขนานร่างกายและจิตใจ” Speaker: 1. ศิววุฒ เสวตานนท์ (เยเมนส์) ร่วมเขียนบท/ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ "ร่างทรง" 2. ชนัญญ์ เมฆหมอก (ปลาย) นักมานุษยวิทยา และนักศึกษาปริญญาเอกสาขาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. อ.ดร.ชวิตรา ตันติมาลา (อ.วิว) อ.ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม และนักพฤติกรรมศาสตร์ผู้ใช้มุมมองมานุษยวิทยา Moderator: 1. สิทธิพันธ์ โพธิ์ศรี (พี่น้ำ) 2. ภาสกร ยุรวรรณ (พี่เชน) Note Taker: นายเฉลิมเกียรติ ทองจุน รับหน้าที่เป็น Note taker ได้ทำการบันทึกร่องรอยของการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานวันนี้ได้ดังปรากฎตามภาพ

การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.16 เสาร์ 25 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัยรุ่น” Speaker: 1. ดร.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง (อ.จันทร์เจ้า) ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. นางสาวนิศา ประกอบชัย (มิคกี้) นายกยุวสมาคมแห่งประเทศไทย-สมุทรปราการ ปี 2020 และ รักษาการ นายกยุวสมาคมแห่งประเทศไทย-สมุทรปราการ ปี 2021 3. นายนัธทวัฒน์ โสตถิพันธุ์ (ต้า) ประธาน ศอ.ปส.ย. กรุงเทพมหานคร 4. พระเอกสิทธิ์ จ้อยสองศรี (หลวงพี่เฟิส) -รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย -ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม Moderator: 1. นางสาวหฤทัยทิพย์ ตัณฑเทศ (พี่หนู) 2. นางสาวสมใจ วงศ์สุฤทธิ์ (พี่แป๋ม) Note Taker: 1. นางสาวทศพร

การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.15 เสาร์ 18 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “การสอนกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ Gen Z” Speaker: 1.อ.ดร.นัชชิมา บาเกาะ (อ.มะฮฺ)​​ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2.อ.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์ (อ.เปา)​​ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว 3.อ.ดร.สุทธิพงศ์ วรอุไร (อ.ทู)​​ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว 4.อ.ดร.อรรคพล วณิกสัมบัน (อ.หมู)​​ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว Moderator: 1.อ.ดร.สราวุฒิ ตรีศรี (พี่จิ๋ว) 2.ดร.ศิวพร ละม้ายนิล (พี่หมูจอย) วันนี้ อ.ดร.ฐิญาณา สุภัทรชยาภูมิ (พี่ก้อย) รับหน้าที่เป็น Note taker ได้ทำการบันทึกร่องรอยของการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานวันนี้ได้ดังปรากฎตามแผนภาพนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

“BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.14 เสาร์ 11 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “BATTLING” ที่สังคมไทยอยากฟัง Speaker: 1. อ.ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ (อ.ปิ๊ก) อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว 2. คุณพงศ์อมร สุขสมจิตร (พี่อ้าย) อดีตโปรดิวเซอร์รายการ Asia's Got Talent 3. คุณภาสกร ยุรวรรณ (พี่เชน) Content Creator และพิธีกรรายการทีวี Moderator: อรรถเดช อุณหเลขกะ (พี่ปลาบ)การพูดคุยแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ Dusadee Yoelao Intraprasert อุปนายกสมาคมของเรา และพี่เต๋ Sreatthasist Rungcharoenporn ได้ทำการบันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังปรากฎตามแผนภาพ 2 แผ่นนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.13 เสาร์ 4 กันยายน 2564 กับหัวข้อ “ความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมจริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย” เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แก่ 1. ท่านสุรจิตร ศรีบุญมา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีนบุรี 2.รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 3.อาจารย์ธนวัฒ พิสิฐจินดา อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและวันนี้ผู้ที่ทำหน้าที่ Moderator คือดร.จิราภรณ์ ชมบุญ หัวหน้าสำนักงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษบรรยากาศการพูดคุยแลกเปลี่ยนได้รับทั้งความรู้ และขยายมุมมองที่มีต่อระบบกระบวนการยุติธรรมของไทย มีการเติมเต็มให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เสริมหนุนพลังใจให้มีพลังขับเคลื่อนทำสิ่งดีๆ ให้กับสังคมกันต่อไป เช่นเคยสมาชิกสมาคมเรา พี่เต๋ Sreatthasist Rungcharoenporn ได้ทำการบันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังปรากฎตามแผนภาพนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

Behavior Medicine ต้านโควิด

สรุปสาระสำคัญจาก Research Talk: Ep.11 เสาร์ 14 สิงหาคม 2564 กับหัวข้อ “Behavior Medicine ต้านโควิด” เป็นการพูดคุยกับคุณหมอผู้เชียวชาญทั้ง 3 ท่านที่มีความถนัดในแต่ละด้านที่แตกต่างกันทั้งทางด้านจิต ด้านบริการสังคม ด้านสุขภาพกาย ซึ่งได้แก่ 1. ผศ.ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล (อ.หมอตี๋) 2. ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา (อ.บอล) 3. ผศ.ดร.นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ (อ.กีต้าร์) และวันนี้มี Moderator อารมณ์ดีคุยสนุกสองท่านได้แก่ 1. ผศ.ดร.ธนยศ สุมาลย์โรจน์ (อ.เพิ่ม) 2. ผศ.ดร.อมราพร สุรการ (อ.โส) ทำหน้าที่ชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้อย่างเต็มอิ่มทั้งความรู้และวิธีการต่างๆ นานา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมของตนเองและคนรอบข้างในแต่ละวัน เช่นเคยสมาชิกสมาคมเรา ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา) Narisara Peungposop  พี่ต้อม Tom Clks และพี่เต๋ Sreatthasist Rungcharoenporn ได้ทำการบันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังปรากฎตามแผนภาพทั้ง 3 แผ่นด้านล่างนี้

Go to Top