เครื่องมือ

เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด

Research Talk: Ep.9 เสาร์ 31 กรกฎาคม 2564 "เรียนออนไลน์นานไป เยียวยาหัวใจนิดนึง - บทบาทนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือนักศึกษาช่วงโควิด" Speaker: 1. ดร.ณฐวัฒน์ (อ.โก้) 2. ผศ.ดร.นันท์ชัตสัณห์ (อ.กีต้าร์) 3. ดร.ฐิติกาญจน์ (อ.มิ๊ง) Moderator: ดร.ชวิตรา (อ.วิว) โดยมีสมาชิกสมาคมเรา ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา) และ พี่ต้อม ได้บันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังสรุปได้ตามแผนภาพ 2 แผ่น รายละเอียดตามด้านล่างนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน

Research Talk: Ep.8 เสาร์ 24 กรกฎาคม 2564 "ละครไทย กับการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เบื้องหลัง บทบาท และตัวตน" ร่วมพูดคุยกับ 3 ผู้เกี่ยวข้องกับละครไทย บอกเล่าแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์เชื่อมโยงกับพฤติกรรมมนุษย์ Speaker: 1.ผู้เขียนบทละคร เบญจธารา โอฬารนิธิกุล (พี่โอ๋) 2.ผู้จัดละคร ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนสกุล (เอิน) 3.ผู้เขียนบทละคร วิภาดา แหวนเพชร (มะขวัญ) Moderator: ภาสกร (พี่เชน) สิทธิพันธ์ (พี่น้ำ) ตลอด 2 ชั่วโมงกว่า มองดูเวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน เรื่องราวเข้มข้น กลมกล่อม มีทั้งความสนุก พร้อมๆ กับสาระที่เชื่อมโยงกับการวิจัย และเช่นเดิมทางสมาชิกสมาคมเรา พี่เต๋ และ พี่ต้อม ได้บันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังสรุปได้ตามแผนภาพ 2 แผ่น รายละเอียดตามด้านล่างนี้

Lock Down ไม่ล็อกใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน

Research Talk: วันที่ 17 เดือน 7 EP 7 เวลา 7 PM กับประเด็นที่ศิษย์เก่าสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์นำมาพูดคุยกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่เป็นอย่างยิ่ง “Lock Down ไม่ล็อคใจ การใช้จิตวิทยาในสถานการณ์ปัจจุบัน” Speaker: ดร. ลลิตา (พี่โรส) ดร. นภัสนันท์ (พี่ติ๊ก) ดร. สัณห์ชาย (พี่ก๊ะ) Moderator: ดร. วิเชศ (พี่โทนี่) เช่นเดิมทางสมาชิกสมาคมเรา พี่เต๋ และ พี่ต้อม ได้บันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังสรุปได้ตามแผนภาพ 2 แผ่น รายละเอียดตามด้านล่างนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

Research Talk: EP.6 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 10 ก.ค. 64 "ขอบเขต ข้อจำกัด และ ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์" เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญ 3 คำที่คนทำงานวิจัยต้องเจออยู่เป็นประจำ มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ 4 Speaker 1.รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่) 2.ผศ.ดร.วรรณะ (อ.แม็ค) 3.อ.ดร.ชวิตรา (อ.วิว) 4.ดร.เก (อ.เก) *นักวิจัยและงานวิจัยรางวัล วช. ด้วยลักษณะของหัวข้อที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง แต่ Clubhouse วันนี้เรายังคงได้รับความสนใจเข้าร่วมรับฟังพูดคุยกันกว่า 41 คน และเช่นเดิมทางสมาชิกสมาคมเรา ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา) พี่เต๋ และ พี่ต้อม ได้บันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังสรุปได้ตามแผนภาพ 3 แผ่น และอีก 1 ตาราง รายละเอียดตามด้านล่างนี้ สรุปร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้น

Ai กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์

Research Talk: EP.5 ใน Clubhouse เสาร์ที่ 3 ก.ค. 64 กับหัวข้อที่ได้รับความสนใจในยุคที่ทุกอย่างเป็นระบบดิจิทัล “AI กับงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์” ซึ่งในปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เราเรียกว่า Ai มีความก้าวหน้าถึงไหน งานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์จะได้ประโยชน์ หรือจะใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของ Ai ได้อย่างไร หรือ กำลังจะถูก Ai แทนที่ จากการร่วมวงพูดคุยหาคำตอบกันผ่านมุมมองของนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ กับ 4 Speaker หลัก 1.รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่) 2.อ.ดร.โสวริทธิ์ธร (อ.โส) 3.อ.ดร.ธีรวิทย์ (อ.บุ๊ง) 4.อ.ภาสกร ยุรวรรณ (พี่เชน) บรรยายกาศใน Clubhouse เสาร์ 3 กรกฎาคม 64 ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้ฟังกว่าตลอดการพูดคุยกว่า 81 คน และเช่นเดิมทางสมาชิกสมาคมเรา Narisara Peungposop และ Sreatthasist Rungcharoenporn ได้บันทึกร่องรอยของการพูดคุยไว้ดังสรุปได้ตามแผนภาพ 2

ความสำคัญของธีม (Theme) กับการจัดประชุมวิชาการ

คำว่า “ธีม” เป็นคำเล็ก ๆ แต่ดูแหมือนจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกกังวล เป็นภาระ เมื่อได้รับโจทย์ให้ไปคิดธีมการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อเตรียมแผนปฏิบัติงานของสมาคม ให้ก้าวเดินไปอย่างมีทิศทาง แม้ว่ากรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์สูง คิดเร็ว ตอบโจทย์ได้ทันที ในทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์ เชื่อว่าคนเรามีกระบวนการรู้คิดสองแบบคือ กระบวนการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว คิดออกโดยอิสระ ฉับพลันเป็นอัตโนมัติ (automatic) ด้วยปัญญาญาณ (intuitive) และจิตใต้สำนึกเป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งมักเจือด้วยอารมณ์ และความคุ้นเคยส่วนตัว) ส่วนอีกกระบวนการหนึ่งเป็นไปอย่างช้าๆ สุขุม รอบคอบ (deliberate) และใช้จิตสำนึก (conscious) ที่มีเหตุผลในเชิงการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การทำความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญ และศึกษาตัวอย่างธีม จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการคิดช้า ความหมายของ Theme คำว่า Theme สามารถแปลไทย ได้หลายคำ เช่น หัวข้อ เนื้อความ แก่นเรื่อง อรรถบท สาระสำคัญ หัวข้อการอภิปราย ตัวบท แนวบทเพลง

เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์ | Research Talk: EP.4

Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 26 มิ.ย. 64 ว่าด้วยประเด็นยอดฮิตติดกระแส "เราจะทำวิจัยโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือกันได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองนักพฤติกรรมศาสตร์" Speaker: 1. รศ.ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ (อ.ไก่) 2. ดร.วสุพล ตรีโสภากุล (พี่เอก) 3. ผศ.ดร.วีรพงษ์ พวงเล็ก (อ.ปลี) 4. รศ.ดร.พรพรรณ ประจักษ์เนตร (อ.แอน) สรุปสาระสำคัญที่เกิดขึ้น  

เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี & มองโจทย์การวิจัยกัน | Research Talk: EP.3

Research Talk: EP.4 ใน Clubhouse เสาร์ 19 มิ.ย. 64 กับประเด็นที่เข้ากับชีวิตยุคที่โรคโควิดระบาดจนสังคมต้องเข้าสู่การใช้ช่องทางออนไลน์ในการขับเคลื่อนการทำงานและการเรียนรู้ กับ 2 ประเด็นที่ 6 Speaker หลักมาร่วมพูดคุย 1) เรียนรู้ออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลดี2) มองโจทย์การวิจัยกันSpeaker :รศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)ผศ.ดร.วีรพงษ์ (อ.ปลี)ผศ.ดร.ณัฐวุธ (อ.บอล)ผศ.ดร.รัฐสภา (อ.ป๊อบ)ดร.ชุลีกร (ผอ.เอียด)อ.ดร.พนิดา (อ.ป้อม) ร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุย  

การอิ่มตัวของข้อมูล (Data saturated) มีผลอย่างไรกับการสร้างความรู้ | Research Talk: EP.2

Research Talk: EP.2 ใน Clubhouse เสาร์ 12 มิ.ย. 64 สะท้อนปัญหาที่นักวิจัยมักมีคำถามเสมอว่า ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาพอหรือยัง? จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่จะยุติการเก็บข้อมูล? กับ Speaker ทั้ง 6 ท่านมาร่วมพูดคุยหาคำตอบรศ.ดร.ดุษฎี (อ.ไก่)รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.กัญญ์ฐิตา (อ.กุ้ง)ผศ.ดร.นริสรา (อ.ตา)ผศ.ดร.ฐาศุกร์ (อ.เอ๋)อ.ดร.ชวิตรา (อ.วิว) ร่องรอยสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุย  

Go to Top