Yearly Archives: 2022

พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน : ดร.เธียรไชย ยักทะวงษ์

พฤติกรรมศาสตร์กับความสุขของคนในองค์กรเอกชน “การทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่กดดันมั้ย? ทำงานเครียดหรือเปล่า? เคย Burn Out ถึงขั้นอยากลาออกบ้างมั้ย? คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ ในฐานะที่ทำงานด้านการพัฒนาคนในองค์กร มักจะชวนคิดชวนคุยให้ทั้งผู้ที่ตั้งคำถามรวมถึงพนักงานในองค์กรได้ “เข้าใจ ยอมรับ และปรับตัว” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาอยู่เสมอ “เข้าใจ” ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกองค์กรล้วนต้องการผลกำไร ดังนั้นไม่มีองค์กรใดที่ทำงานด้วยแล้ว ไม่กดดัน ไม่เครียด แต่เราต้องจัดการให้คนในองค์กรมีความเครียดในระดับที่เหมาะสม เพราะความเครียดเล็กน้อย คือ สิ่งที่ดี ทำให้พนักงานกระตือรือร้นอยู่เสมอ มีการวางแผนที่ดี ไม่กลายเป็น “Dead Wood” “ยอมรับ” ในความสามารถของตน ตระหนักรู้ในตน ในระดับ Individual และความแตกต่างระหว่างบุคคล ในระดับ Group รวมถึงความเป็นไปขององค์กร ในระดับ Organization ในขั้นของการ “เข้าใจ” และ “ยอมรับ” เน้นการพัฒนาพนักงานในด้าน “Mindset” ซึ่งเป็น Set ของความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยม ทัศนคติ ความรู้และอื่นๆ

พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา : ภาสกร ยุรวรรณ

พฤติกรรมศาสตร์กับใบชา ถ้าเปรียบจักรวาลวิทยาศาสตร์เป็น ‘ใบชา’ หรือ ‘เปลือกตาของพระโพธิธรรม’ ที่ช่วยเบิกเนตรให้มองเห็น ให้ได้เข้าใจสิ่งใดๆ ที่เหนือกว่าอายตนะของเราแล้ว พฤติกรรมศาสตร์ก็คงไม่แคล้วเป็นรสชาติอันซับซ้อนลุ่มลึกแบบ ‘ชาผู่เอ๋อ’ ที่หมักบ่มมาเป็นระยะเวลานาน เปรียบเปรยขึ้นมาแบบนี้อาจดูพิลึกกึกกือ แต่หากพิจารณาโดยถือเหตุผลว่า ‘พฤติกรรมศาสตร์’ เป็นการหลอมรวมหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างที่เรียกว่า ‘บูรณาการ’ มันคงไม่ต่างกันกับต้นชาโบราณที่ดูดซับแร่ธาตุมานานนับร้อยปี ก่อนนำไปหมักตามกรรมวิธีอย่างพิถีพิถัน ดังนี้แล้ว รสชาติที่ได้ย่อมลึกล้ำ ซับซ้อน พูดแบบนี้อาจดูเหมือน ‘พฤติกรรมศาสตร์’ ตีความได้กว้างเหมือนหยั่งขาสองข้างอยู่บนแพ ไปเอาของคนอื่นมานิด ไปหยิบอันนี้มาหน่อย ทว่าขาดแก่นแกนกระนั้นหรือ? - เปล่าเลย จะว่าไปแล้ว มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นไปซะทั้งหมด เพราะหากพิจารณาดูว่า ถ้าแบ่งมนุษย์เป็นสองสิ่งง่ายๆ อย่าง จิต-กาย แบบ เดส์การตส์ ที่ว่า จิตที่เป็นวัตถุแห่งการศึกษาของจิตวิทยา มันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยิ่งถ้ามองให้กว้างขึ้นถึงปัจจัยอื่นๆ ในเชิงสังคมวิทยา มองวัฒนธรรมในรูปแบบมานุษยวิทยา หรือคิดในแง่จิตวิญญาณจากนิทานปรัมปรามันก็คงทำนองเดียวกัน ดังนั้น การอธิบายพฤติกรรมซึ่งเป็นการกระทำของมนุษย์อันแสนจะซับซ้อนจะใช้ศาสตร์เดียวเพียวๆ ได้อย่างไร ธรรมชาติของพฤติกรรมศาสตร์เป็นเช่นนี้ ช่างซับ และซ้อน ไม่ต่างกับชาโบราณ ที่ไม่ว่าจะชิมดื่มยังไงก็ยากระบุให้ถึงรสอันเป็นแก่นแท้

พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ : รศ.ดร.รังสรรค์ โฉมยา

พฤติกรรมศาสตร์ในความภูมิใจ... เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้มีโอกาสหยิบเอาหนังสือชื่อ “Future Human Behavior: Understanding What People Are Going To Do Next” โดย Thimon De Jong ผู้เชี่ยวชาญผู้โด่งดัง และถือเป็น Influences ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการอธิบายปรากฏการณ์ของพฤติกรรมนุษย์และวัฒนธรรมทางธุรกิจสมัยใหม่ อาจารย์ได้พูดถึง โลกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วอันน่าอัศจรรย์ใจทั้งในด้านสังคมและเทคโนโลยี พฤติกรรมของมนุษย์เองก็เช่นกัน เราต่างก็ได้รับอิทธิพลอย่างต่อเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างตลอดเวลา ความพยายามในการทำนายว่าพฤติกรรมใหม่ ๆ ของมนุษย์ในโลกอนาคตเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร? และอะไรคือความหมายของการมีชีวิตอยู่ของพวกเขาในสังคมแห่งอนาคต อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมรู้สึกว่าผมโชคดีที่ได้ศึกษาในสาขาทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ เพราะผมเชื่อว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ลึกลับและสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าได้อย่างไม่จบสิ้นไม่สิ้น และศาสตร์ต่าง ๆ ถูกนำมาใช้ในการศึกษาเชื่อมโยงเข้ากับพฤติกรรมมนุษย์มากมาย และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทวีความลึกซึ้ง ซับซ้อน นึกถึงสมัยเรียนปริญญาเอกตอนอยู่ ปี 1 ที่คณาจารย์ที่สอนเราในวันแรก (Team Teaching) ได้ให้เราอ่านบทความฉบับหนึ่ง ที่อธิบายว่า ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์นั้นก็เปรียบเสมือนหน้าต่าง (Theories

ตัวแปรปรับ และ ตัวแปรแทรก

ตัวแปรปรับ (moderator variable) และ ตัวแปรแทรก (mediator variable) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง เรื่องที่คนมักสงสัย 1. คืออะไร ต่างกันอย่างไร ตัวแปรแทรก คือ ตัวแปรที่อยู่ระหว่างตัวแปร 2 ตัว เช่น บุคลิกภาพแบบแสดงตัว ส่งผลทางบวกต่อ ความผาสุกทางจิตใจ ผ่านตัวแปรแทรกคือ ความสามารถในการกำกับอารมณ์ด้านลบ เราจะสามารถลากเส้นแสดงอิทธิพล จาก บุคลิกภาพแบบแสดงตัวไปยัง ความสามารถในการกำกับอารมณ์ลบ และเส้นแสดงอิทธิพลจากความสามารถในการกำกับอารมณ์ลบ ไปสู่ความผาสุกทางจิตใจ ในทางตรงกันข้าม ตัวแปรปรับ เป็นตัวแปรที่ไปปรับความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของตัวแปร 2 ตัว เช่น เพศ เป็นตัวแปรปรับ ความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรมจริยธรรม 2. ความสำคัญทางพฤติกรรมศาสตร์ และตัวอย่าง พฤติกรรมศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรม โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่ออธิบายว่า ตัวแปรตาม มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นผลจากตัวแปร

RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย (คลิปการบรรยาย)

วิดีโอบันทึกการบรรยายออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM Meeting หัวข้อ: “RESEARCH GAP ช่องว่างของการวิจัย” ในโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านการทำปริญญานิพนธ์ ปีการศึกษา 2564 บรรยายโดย รศ.ดุษฎี อินทรประเสริฐ นายกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ ให้กับนิสิตหลักสูตร วท.ม. และ ปร.ด. การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ปร.ด. จิตวิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว และสมาชิกสมาคมพฤติกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น. ตอนที่ 1 ตอนที่ 2

By |2022-07-18T21:28:39+07:00July 15th, 2022|Knowledge Tank|0 Comments
Go to Top